การศึกษาความเป็นพิษของสาร curcumin ต่อสารพันธุกรรมของหนูแรท โดยแบ่งหนูออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว กลุ่มที่ 1 ให้เป็นกลุ่ม positive control กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 ป้อนสารสกัด curcumin ด้วยวิธีป้อนเข้ากระเพาะ (intragastrcally) ขนาด 0.5, 10 และ 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ ทุกวัน เป็นเวลา 37 วัน หนูแรทกลุ่มที่ 5, 6 และ 7 ป้อนสารสกัด curcumin เช่นเดียวกับกลุ่มที่ 2, 3 และ 4 แต่ในวันสุดท้ายของการทดลอง ทำการฉีดยา methotrexate ขนาด 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เข้าทางช่องท้อง และในกลุ่มที่ 8 ให้เป็นกลุ่ม negative control ฉีดยา methotrexate ขนาด 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เข้าทางช่องท้องในวันที่ 37 ของการเลี้ยง โดยไม่ได้ป้อนสารสกัด curcumin ก่อน ผลการทดสอบทาง cytogenetic และ biochemical analysis พบว่า สารสกัด curcumin ขนาด 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่เป็นพิษต่อยีนของหนูแรท ทั้งในกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับยา methotrexate และยังมีผลลดความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยยา methotrexate ด้วย แต่ปริมาณ curcumin ที่ขนาด 10 และ 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่ามีผลเหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซม เพิ่มระดับของเอนไซม์ GOT และ GPT ในตับ ระดับคอเลสเตอรอล และฮอร์โมน testosterone ในหนูทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับยา methotrexate ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสาร curcumin มีผลทั้งต้านการเป็นพิษต่อยีน (antigenotoxicity) และเป็นพิษต่อยีน (genotoxicity) ขึ้นอยู่กับขนาดที่ใช้
Global Veterinaria. 2010; 4(2): 185-9.