บริการของเรา

1. ฐานข้อมูลสมุนไพร

  1.1 ฐานข้อมูล PHARM (PHARM Database)

จัดทำโดยหน่วยบริการและสำนักงานข้อมูลสมุนไพร เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมรายงานการวิจัยด้านต่างๆ และสรรพคุณตามตำรายาไทยของพืชสมุนไพรจำนวน 1,167 ชนิด และพืชชนิดอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน การสืบค้นทำได้โดยพิมพ์ชื่อภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ชื่อสกุล (genus) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช หรือฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1.2 ฐานข้อมูลทางคลินิก (Clinical Database)

จัดทำโดยหน่วยบริการและสำนักงานข้อมูลสมุนไพร เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปผลรายงานการวิจัยด้านคลินิกของพืชสมุนไพร เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการสืบค้น และเป็นความรู้พื้นฐานประกอบการพิจารณาการในการนำพืชสมุนไพรไปประยุกต์ใช้เพื่อการดูแลสุขภาพ การสืบค้นสามารถทำได้โดยพิมพ์ชื่อภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ชื่อสกุล (genus) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช หรือฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1.3 ฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน (Herb-Drug Interaction)

จัดทำโดยหน่วยบริการและสำนักงานข้อมูลสมุนไพร เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปผลรายงานการวิจัยเกี่ยวกับการเกิดอันตรกิริยาระหว่างการใช้พืชสมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการสืบค้น และเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงประชาชนทั่วไปในการพิจารณาการใช้สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบันต่างๆ ซึ่งในการสืบค้นสามารถทำได้โดยพิมพ์ชื่อภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ชื่อสกุล (genus) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช หรือชื่อยาแผนปัจจุบัน

  1.4 ฐานข้อมูลสมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน

จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่ส่งเสริมในงานสาธารณสุขมูลฐานจำนวน 44 ต้น เพื่อเป็นแนวทางให้ประชาชนสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และนักวิจัยสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อการศึกษาวิจัยและพัฒนาสมุนไพร

  1.5 ฐานข้อมูลความปลอดภัยของสมุนไพรที่มีการขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ

เป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับหลักฐานความเป็นพิษ และการทดสอบความเป็นพิษของพืชสมุนไพรที่มีการขึ้นทะเบียนที่ อย. หรือมีการใช้มาก จำนวน 80 ต้น เพื่อทาง อย. และผู้ประกอบการใช้เป็นข้อมูลการขอขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

  1.6 ฐานข้อมูลสรรพคุณที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ

เป็นฐานข้อมูลสรรพคุณของพืชสมุนไพรที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ ซึ่งทาง อย. และผู้ประกอบการใช้เป็นข้อมูลประกอบการขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ

  1.7 ฐานข้อมูลพืชสมุนไพรที่มีการใช้ในผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์

จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานข้อมูลสมุนไพรและสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยรวบรวมรายชื่อสมุนไพรที่มีการใช้ในผู้ป่วยโรคเอดส์มาวิเคราะห์ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินศักยภาพของสมุนไพรว่า สามารถนำมาใช้รักษาอาการแทรกซ้อนของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ได้หรือไม่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์กรเอกชนที่เป็นเครือข่ายช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอดส์ และเป็นข้อมูลสำหรับนักวิจัยในการศึกษาค้นคว้าต่อไป

  1.8 ฐานข้อมูลพืชพิษ

เป็นฐานข้อมูลที่ใช้ระบบ expert system ในการสืบค้นข้อมูลสมุนไพรที่เป็นพิษจำนวน 92 ต้น เพื่อประโยชน์ในการรักษาของบุคลากรทางการแพทย์ และเพื่อเป็นความรู้แก่ประชาชนให้ระมัดระวังในการใช้สมุนไพร

  1.9 ฐานข้อมูล NAPRALERT

จัดทำโดยมหาวิทยาลัยอิลินอยด์ ณ ชิคาโก เป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตรวมทั้งพืชสมุนไพร สามารถสืบค้นข้อมูลจากชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสารเคมี หรือคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา โดยข้อมูลจะประกอบไปด้วย สรรพคุณพื้นบ้าน คุณสมบัติทางเภสัชวิทยา สารเคมีที่แสดงฤทธิ์ และเอกสารที่ใช้อ้างอิง (อัพเดทถึงปี 2000)

2. บอกข่าวเล่าเรื่องสมุนไพร

เผยแพร่บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพร และข่าวสารงานวิจัยสมุนไพร

3. ภาพพืชสมุนไพร

จัดเก็บบน CD-ROM และสไลด์ จำนวนกว่าหนึ่งหมื่นภาพ เพื่อการศึกษาลักษณะพืช

4. จุลสารข้อมูลสมุนไพร

(4 เล่ม/ปี) สามารถสมัครสมาชิกได้ผ่านทางเว็บไซด์ www.medplant.mahidol.ac.th/members/NewsletterForm.asp

5. วารสารสมุนไพร

(2 เล่ม/ปี) สามารถอ่านได้ทางเว็บไซด์ www.medplant.mahidol.ac.th/publish/journal.asp

6. ห้องสมุดสมุนไพร

มีหนังสือเกี่ยวกับสมุนไพรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมากกว่า 1,200 เล่ม โดยผู้สนใจสามารถติดต่อขอใช้บริการได้ด้วยตนเองที่สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันและเวลาราชการ

7. ถาม-ตอบ ปัญหาสมุนไพร

ให้บริการตอบปัญหาเกี่ยวกับสมุนไพร โดยผู้สนใจสามารถฝากคำถามผ่านทาง Facebook ของสำนักงาน หรือส่งคำถามมาทางอีเมลล์ headpypi@mahidol.ac.th หรือโทรสอบถามได้ที่เบอร์ 02-354-4327, 02-644-8677-91 ต่อ 5305, 5316 ในวันและเวลาราชการ

8. การเตรียมเอกสารเพื่อประกอบการขึ้นทะเบียนตำรับยาสมุนไพร

ให้บริการสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย สำหรับจัดเตรียมเอกสารเพื่อประกอบการขึ้นทะเบียนตำรับยาสมุนไพรแก่หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป โดยมีค่าบริการตามขอบเขตข้อมูลของแต่ละชนิดพืช สามารถติดต่อขอใช้บริการด้วยตนเองที่สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล