การศึกษาเพื่อดูผลของการรับประทานช็อคโกแลตเข้ม (มีปริมาณฟลาโวนอยด์สูง)ต่อสารอนมูลอิสระในไลโปโปรตีนและเกล็ดเลือด และตรวจวัดระดับสารอนุมูลอิสระได้แก่ thiobarbituric acid-reactive substances (TBARs) สารไลปิด ไฮโดรเปอร์ออกไซด์ (lipid hydroperoxide), conjugated diene, peroxynitrite, ไนตริกออกไซด์ (NO) ในไลโปโปรตีนและเกล็ดเลือด ก่อนและหลังรับประทานช็อคโกแลต โดยอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 50 คน (ผู้ชาย และผู้หญิง กลุ่มละ 25 คน) รับประทานช็อคโกแลตเข้มวันละ 50 กรัม ทุกวัน นาน 3 สัปดาห์ หลังการศึกษาพบว่าสารอนุมูลอิสระได้แก่ thiobarbituric acid-reactive substances (TBARs) ลดลง 26.7% และ 23.4% สารไลปิด ไฮโดรเปอร์ออกไซด์ลดลง 62.8% และ 21.1% การสร้าง conjugated diene ลดลง 55.9% และ 49.2% ใน HDL (high density lipoprotein) ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ตามลำดับ ในขณะที่สาร TBARs ลดลง 26.7% และ 21.6% สารไลปิด ไฮโดรเปอร์ออกไซด์ลดลง 83.6% และ 64.7% การสร้าง conjugated diene ลดลง 48.2% และ 21.6% ใน LDL (low density lipoprotein) ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าสาร peroxynitrite ที่เป็นสารอนุมูลอิสระในเกล็ดเลือดลดงลง 24% และ 18.6% ในขณะที่สารไนตริกออกไซด์ (NO) เพิ่มขึ้น 15.7% และ 32.2% ในผู้หญิงและผู้ชาย ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนรับประทานช็อคโกแลต จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าการรับประทานช็อคโกแลตเข้มในช่วงเวลาสั้นๆ จะมีผลให้ค่าไลโปโปรตีน (lipoprotein) ดีขึ้นในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีซึ่งในผู้หญิงจะได้ผลดีมากกว่าผู้ชาย และมีผลช่วยป้องกันโรคในระบบหลอดเลือดและหัวใจด้วย
Appetite 2012;58:400-5.