ฤทธิ์ปกป้องกระดูกอ่อนและรักษาอาการข้ออักเสบของสารเซซามินที่ได้จากงา

การศึกษาในเซลล์กระดูกอ่อนของหมู (porcine cartilage explant) พบว่าสารเซซามินช่วยยับยั้งการหลั่ง sulfated-glycosaminoglycan (s-GAG) และ hydroxyproline ที่ถูกกระตุ้นด้วย interleukin-1-beta (IL-1β) โดยผ่านกระบวนการลดการแสดงออกของ metalloproteinase (MMP) ชนิดที่ 1, 3 และ 13 ที่ผลต่อการสลายตัวของ proteoglycans (PGs) และ type-II collagen ทั้งในระดับของยีนและโปรตีน ร่วมกับการออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ MMP-3 ด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าสารเซซามินมีผลขัดขวางการส่งต่อสัญญาณของ IL-1β โดยยั้บยั้งการเติมหมู่ฟอตเฟสของโปรตีน p38 และ JNK เมื่อทดสอบในเซลล์กระดูกอ่อนของมนุษย์ (human articular chondrocyte) และการศึกษาในหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้เกิดข้ออักเสบด้วย papain ก็พบว่าการฉีดเซซามินความเข้มข้น 1 และ 10 ไมโครโมลลาห์ ที่บริเวณหัวเข่าที่อักเสบ ติดต่อกัน 5 สัปดาห์ ช่วยลดการเรียงตัวของเซลล์กระดูกอ่อนที่ผิดปกติ ช่วยเพิ่มความหนาของกระดูกอ่อน และลดการสูญเสีย type-II collagen และ PGs จากกระดูกอ่อนได้ นอกจากนี้พบว่าการป้อนสารเซซามินช่วยเพิ่มการสร้าง type-II collagen และ PGs ในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนในหนูปกติอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าสารเซซามินจากงามีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดอาการข้ออักเสบ และมีศักยภาพในการนำไปรักษาอาการข้ออักเสบได้

Phytochemistry 2012; 80: 77-88