การศึกษาในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคพาร์กินสันด้วยการฉีดสาร MPTP (1-methyl-4-phenyl 1,2,3,6-tetrahydropyridine) เข้าไปในเนื้อสมองส่วนซับสแตนเชียไนกรา (substantia niagra) หลังจากนั้น 1 วัน ป้อนสารเอเซียติโคไซด์ขนาด 1 มล./กก. นาน 14 วัน และนำสมองหนูในส่วนของซับสแตนเชียไนกรา (substantia niagra) และเนื้อสมองส่วนสไตรตัม (striatum) มาศึกษา พบว่าสารเอเซียติโคไซด์สามารถลดระดับสารอนุมูลอิสระ (malonyldialdehyde) เพิ่มระดับกลูต้าไธโอน (glutathione) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันการลดลงของระดับโดปามีนในเนื้อสมองส่วนสไตรตัมได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้การทำงานของสมองในส่วนของการเคลื่อนไหวที่เสียไป (locomotor dysfunction) มีการพัฒนาทำงานได้ดีขึ้น และเพิ่มอัตราส่วนของโปรตีน Bcl-2/Bax (Bcl-2 ต้านการทำให้เซลล์ตาย ในขณะที่ Bax กระตุ้นทำให้เซลล์ตายแบบ apoptosis) มีผลให้การถูกทำลายหรือการตายของเซลล์ลดน้อยลง จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า สารเอเซียติโคไซด์ในบัวบกสามารถป้องกันการถูกทำลายของสมองในหนูที่เหนี่ยวนำให้เป็นพาร์กินสัน รวมทั้งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ควบคุมปริมาณโดปามีนให้สมดุลและเพิ่มเพิ่มอัตราส่วนของโปรตีน Bcl-2/Bax เป็นผลให้ป้องกันการถูกทำลายของสมองได้
Pharmacology biochemistry and behavior 2012;100:413-8.