ฤทธิ์แก้ปวดอักเสบและแก้ไข้ของเมล็ดโพทะเล

การทดสอบฤทธิ์แก้ปวดอักเสบและแก้ไข้ของสารสกัดปิโตเลียมอีเทอร์ (TPO) สารสกัดเอทานอล (TPE) สาร unsaponifiable matter (TPOUM) จากเมล็ดโพทะเล และแยกสารสกัดเอทานอลด้วยการกลั่นแยกลำดับส่วนด้วยคลอโรฟอร์ม, เอทิลอะซีเตท, n-BuOH และน้ำ (fraction 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ) นำไปทดสอบในหนูแรทที่มีอาการอักเสบบริเวณอุ้งเท้าจากการกระตุ้นด้วย carrageenan พบว่า TPO, TPE ขนาด 200 และ 400 มก./กก. รวมทั้ง TPOUM และทุก fractions ขนาด 200 มก./กก. ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดี มีผลลดอาการบวมอย่างมีนัยสำคัญ และการทดสอบฤทธิ์แก้ไข้ในหนูแรท พบว่า TPO, TPE และ fractions ออกฤทธิ์ลดอุณหภูมิร่างกายได้ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงแรกหลังได้รับสารสกัด และคงประสิทธิภาพต่อเนื่องนาน 5 ชั่วโมง ในขณะที่ TPOUM ไม่มีผลลดอุณหภูมิร่างกายของสัตว์ทดลอง นอกจากนี้ยังแสดงฤทธิ์บรรเทาปวด เมื่อทดสอบโดยวิธี tail immersion (จุ่มหางลงในน้ำร้อน) โดยสารสกัดทุกชนิดมีผลทำให้หนูทนต่อระยะเวลาที่หางจุ่มอยู่ในน้ำร้อนได้นานขึ้น เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญด้วยวิธี GC-MS พบว่าในน้ำมันจากเมล็ดโพทะเลประกอบด้วยกรดไขมันกว่า 14 ชนิด กลุ่มที่พบมาก คือ palmitic และ stearic acid จากการทดลองนี้จะเห็นได้ว่าสารสกัดจากเมล็ดโพทะเลออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ แก้ปวด และแก้ไข้ได้ดี โดยสารสกัดเอทานอลของเมล็ดโพทะเลออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด

J Ethnopharmacol 2011; 137:1504-9