การศึกษาสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดในหนูแรทที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตจากเบาหวาน (diabetic nephropathy: DN) หนูแรทถูกเหนี่ยวนำให้มีภาวะต้านต่ออินซูลิน (insulin resistance) โดยการให้อาหารที่มีส่วนผสมของซูโคสสูง (50%), น้ำมันหมู (30%) และคอเลสเตอรอล (2.5%) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ แล้วจึงเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากเบาหวาน โดยการฉีดสาร streptozotocin เข้าเส้นเลือดดำขนาด 25 มก./กก. น้ำหนักตัว หลังจากนั้นหนูจะได้รับการป้อนสาร สกัดจากเมล็ดลูกซัดที่ทำการสกัดด้วยน้ำขนาด 440, 870 และ 1740 มก./กก. เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ในหนู DN พบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูง แสดงถึงภาวะเบาหวานในหนู อัตราส่วนของน้ำหนักไต ต่อน้ำหนักตัว ระดับ BUN และ creatinine ในเลือด โปรตีนในปัสสาวะ และค่าอัตราการขจัดสาร creatinine ที่ไตเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงการทำงานของไตที่ผิดปกติ ขณะที่ในหนู DN ที่ได้รับสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดจะมีค่าต่างๆดังกล่าวลดลง แสดงถึงการทำงานของไตดีขึ้น นอกจากนี้ในหนู DN ที่ได้รับสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดมีการทำงานของเอนไซม์ catalase และ superoxide dismutase เพิ่มขึ้นทั้งในเลือดและในไต ขณะที่ปริมาณ malondialdehyde ลดลง แสดงให้เห็นฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมล็ดลูกซัด นอกจากนี้ระดับปริมาณสารจากกระบวนการดีเอ็นเอถูกออกซิไดซ์ (8-hydroxy-2′-deoxyguanosine, 8-OHdG) ในปัสสาวะและเนื้อไตส่วนนอกลดลงในหนู DN ที่ได้รับสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดเมื่อเทียบกับหนูกลุ่ม DN โดยระดับ 8-OHdG มีการลดลงมากขึ้นเมื่อหนูแรทได้รับสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดขนาดสูงขึ้น สรุปได้ว่า สารสกัดจากเมล็ดลูกซัดป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากเบาหวานในหนูแรทได้โดยออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งออกซิไดซ์ของดีเอ็นเอ
Nutrition Research 2011;31:555-62