การศึกษาภาวะการบ่มเพาะจมูกข้าวสาลีที่ทำให้มีปริมาณเปป์ไทด์ที่ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของ Angiotensin-converting enzyme (ACE) และการออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ ACE ของเปป์ไทด์ พบว่า การบ่มจมูกข้าวสาลี ขนาด 1 กรัมในสารละลายบัฟเฟอร์ 8.14 มล. โดยสารละลายบัฟเฟอร์นี้มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) 4.4 และบ่มเพาะไว้ที่อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 ชั่วโมง เป็นภาวะที่ทำให้มีความเข้มข้นของเปป์ไทด์สูงสุดถึง 88.12 มก./ก. ซึ่งมีความเข้มข้นมากกว่าจมูกข้าวสาลีที่ไม่ผ่านการบ่มเพาะถึง 2.4 เท่า และยังเป็นภาวะที่ทำให้มีการออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ ACE สูงสุดถึง 92.16 % ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งมากกว่าจมูกข้าวสาลีที่ไม่ผ่านการบ่มเพาะถึง 6.2 เท่า การแยกบริสุทธิ์และระบุลำดับกรดอะมิโนของเปป์ไทด์ที่ยับยั้งการทำงานของ ACE ที่ได้จากการบ่มเพาะจมูกข้าวสาลีด้วยเทคนิคลิควิดโครมาโตกราฟฟี-แมสสเปกโตรเมทรี (LC/MS) ได้เปป-ไทด์ที่มีลำดับกรดอะมิโนเป็น valine-glutamic acid-valine, tryptophan, asparagine-proline-proline-serine-valine, glutamine-serine และ alanine-methionine-tyrosine ซึ่งมีความเข้มข้นที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ ACE ได้ 50% (IC50) เท่ากับ 115.20, 94.87, 40.56, 26.82 และ 5.86 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ
Agricultural and food chemistry 2011;59:3598-605