การศึกษาทางคลินิกทีเดียวแบบสุ่ม ปกปิดทางเดียว มีกลุ่มควบคุมด้วยยาหลอก และสลับกลุ่ม (single-centre, randomised, single-blind, placebocontrolled, cross-over)ของฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากสตรอเบอร์รี่ที่อยู่ในรูปแบบของเครื่องดื่มต่อกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นหลังการรับประทานอาหารและการตอบสนองของอินซูลินในอาสาสมัครที่มีน้ำหนักเกินจำนวน 24 คน เป็นชาย 10 คน และเป็นหญิง 14 คน โดยให้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดตรสูงและมีไขมันปานกลาง(High-carbohydrate, moderate-fat meal; HCFM)ร่วมกับการได้รับเครื่องดื่มสตรอเบอร์รี่ (active) หรือเครื่องดื่มที่แต่งกลิ่นของสตรอเบอร์รี่ (placebo) หลังการทดสอบเป็นเวลา 6 ชม. พบว่าช่วงที่อาสาสมัครได้รับเครื่องดื่มสตรอเบอร์รี่ ในเลือดจะมีความเข้มข้นของสารpelargonidin sulfate และสาร pelargonidin-3-O-glucoside ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโพลีฟีนอลิกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ได้รับเครื่องดื่มที่แต่งกลิ่นของสตรอเบอร์รี่ นอกจากนี้เครื่องดื่มสตรอเบอร์รี่ยังสามารถยับยั้งกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นจากการได้รับ HCFM โดยทำให้สาร high-sensitivity C-reactive protein และInterleukin-6 ซึ่งเป็นสารก่อการอักเสบมีระดับลดลง อีกทั้งช่วยให้การตอบสนองของอินซูลินดีขึ้นด้วย
Br J Nutr 2011;106(6):913-22.