การศึกษาผลของสารในกลุ่มแอนโทไซยานินจากมันฝรั่งหวาน (APSP) ในหนูขาวเพศผู้ เป็นเวลา 7 สัปดาห์ โดยแบ่งหนูเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว โดยกลุ่มที่ 1 เป็นหนูปกติ (control) กลุ่มที่ 2 เป็นหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozocin (STZ) (model) กลุ่มที่ 3 เป็นหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย STZ และได้รับยา metformin (metformin) กลุ่มที่ 4 เป็นหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย STZ และได้รับการล้างท้อง (Lavage) ด้วย 0.5% APSP กลุ่มที่ 5 เป็นหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย STZ และได้รับการล้างท้องด้วย 1.0% APSP กลุ่มที่ 6 เป็นหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย STZ และได้รับการล้างท้องด้วย 2.0% APSP หลังการทดลองพบว่าน้ำหนักตัวของหนูในกลุ่มที่ 2 ลดลงมากกว่าหนูกลุ่มที่ 1 ในขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดของหนูกลุ่มที่ 2 สูงกว่าหนูกลุ่มที่ 1 ส่วนหนูในกลุ่มที่ 3 6 มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่ากลุ่มที่ 1 แต่ต่ำกว่ากลุ่มที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 5 เมื่อเปรียบเทียบระดับคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิด LDL และ HDL ในเลือดหนูในกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 1 พบว่าระดับของคอเลสเตอรอลรวม และคอเลสเตอรอลชนิด LDL ของหนูในกลุ่มที่ 2 สูงกว่าหนูในกลุ่มที่ 1 ในขณะที่ระดับของคอเลสเตอรอลชนิด HDL หนูในกลุ่มที่ 2 ต่ำกว่าหนูในกลุ่มที่ 1 ส่วนหนูในกลุ่มที่ 5 และ 6 มีระดับของคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิด LDL และไตรกลีเซอไรด์ลดลง เมื่อเทียบกับหนูในกลุ่มที่ 2 เช่นเดียวกับหนูในกลุ่มที่ 3 ซึ่งมีระดับของคอเลสเตอรอลรวม และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง ค่าดัชนีบ่งชี้ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (atherogenic index) ของหนูในกลุ่มที่ 2 และ 3 เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ส่วนหนูในกลุ่มที่ 4 6 มีค่าดังกล่าวลดลง ฤทธิ์ของ glutamate-pyruvate transaminase (GPT) และ glutamic oxaloacetic transaminase (GOT) ในกลุ่มที่ 2 เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ส่วนหนูในกลุ่มที่ 3 6 มีค่า GPT ลดลง ในขณะที่หนูในกลุ่มที่ 3 5 มีค่า GOT ลดลง จากผลการทดลองดังกล่าวทำให้สามารถสรุปได้ว่า APSP สามารถช่วยในการักษาระดับน้ำตาล ระดับไขมันในเลือด การเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสและไขมันในหนูขาวที่มีภาวะของเบาหวานให้ดีขึ้น ซึ่งผลดัวกล่าวอาจเป็นผลดีต่อการทำงานของตับด้วย
Yingyang Xuebaoling 2010;32(1):88-90