ฤทธิ์ลดความเหนื่อยล้าของโสม (Panax ginseng  C.A. Meyer)

ทดสอบฤธิ์ลดอาการเหนื่อยล้าของสารสกัด polysaccharides จากโสม โดยทำการทดลองในหนูเมาส์ เพศผู้จำนวน 13 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว หนูกลุ่มที่ 1 ให้เป็นกลุ่มควบคุม ป้อนด้วยน้ำเกลือ (saline) และไม่มีการนำไปทดสอบการว่ายน้ำ (forced swim test) กลุ่มที่ 2 ป้อนด้วยน้ำเกลือ และนำไปทดสอบการว่ายน้ำ กลุ่มที่ 3-13 ทำการป้อนหนูด้วย ginseng polysaccharide (WGP) ขนาด 50, 100 และ 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม neutral (WGPN) ขนาด 40, 100, 160 และ 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ acidic (WGPA) ขนาด 40, 100, 160 และ 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ และนำหนูทุกตัวไปทดสอบการว่ายน้ำ การป้อนหนูด้วยน้ำเกลือและสาร polysaccharide จะทำการป้อนทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 15 วัน และการทดสอบว่ายน้ำจะทำในวันสุดท้ายของการเลี้ยงหลังจากป้อนหนู 1 ชั่วโมง ทำการบันทึกผลขณะทดสอบ และนำตัวอย่างเลือดจากหนูทุกกลุ่มมาตรวจสอบการทำงานของเอ็นไซม์ ผลการศึกษาพบว่าสารสกัด polysaccharide จากโสมลดอาการหยุดชะงัก (immobility) ของหนูเมื่อทำการทดสอบการว่ายน้ำได้ โดยพบว่าสาร WGPA ให้ผลในปริมาณการใช้ (dose) ที่น้อยกว่าสาร WGP และ WGPN นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดจากโสมทั้งสามชนิดทำให้ระดับ glucose ในเลือดเพิ่มขึ้น เพิ่มระดับของเอ็นไซม์ glutathione peroxidase ลด creatine phosphokinase, lactic dehydrogenase และ malondialdehyde ซึ่งผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าสารสกัด polysaccharide จากโสม มีฤทธิ์ในการลดอาการเมื่อยล้าได้

J Ethnopharmacol. 2010; 130: 421-23.