การศึกษาผลของสารสกัดด้วยอะซิโตน(70): น้ำ(29.5): กรดอะซิติก(0.5) จากถั่วแดง ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจของหนูแรทและคนซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้โตผิดปกติ (hypertrophy) ด้วย angiotensin II พบว่าเมื่อให้สารสกัดจากถั่วแดงเข้มข้น 25, 50 และ 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถลดการโตผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจของหนูได้ 18, 28 และ 36% ตามลำดับ และสารสกัดจากถั่วแดงเข้มข้น 12.5, 25 และ 50 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถลดการโตผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจของคนได้ 9, 17 และ 25% ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าสารสกัดจากถั่วแดงประกอบด้วย phenolic acid 13 ชนิด และ flavonoids 2 ชนิด และมีค่าการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 105 ไมโครโมลโทรลอกซ์/ กรัมของสารสกัดจากถั่วแดง ซึ่งเมื่อทดสอบผลของสารสกัดถั่วแดงต่อการยับยั้งการสร้างอนุมูลอิสระในกลุ่มของ reactive oxygen species (ROS) จากการเหนี่ยวนำด้วย angiotensin II ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจของหนูและคน พบว่าสารสกัดจากถั่วแดงเข้มข้น 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถยับยั้ง ROS ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจของหนูได้ 33% และ สารสกัดจากถั่วแดงเข้มข้น 50ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถยับยั้ง ROS ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจของคนได้ 22% แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากถั่วแดงสามารถลดการโตผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจของหนูและคนซึ่งถูกเหนี่ยวนำด้วย angiotensin II โดยผ่านการลดการสร้างอนุมูลอิสระในเซลล์
J Agric Food Chem 2010;58:10382-10388