การศึกษาผลของการได้รับสาร quercetin (พบได้ในพืชหลายชนิด เช่น บร็อคโคลี่ ผักกาดหอม แอ๊ปเปิ้ล มะเขือเทศ หัวหอม ชา และกาแฟ) และสาร curcumin (พบได้ในขมิ้น) ในหนูแรทเพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติจากภาวะออกซิชั่น ตับถูกทำลาย ไตทำหน้าที่ผิดปกติ และเลือดเป็นพิษ จากการได้รับยาพาราเซตามอลขนาด 650 มก./กก. ซึ่งทำให้หนูมีระดับของ thiobarbituric acid-reactive substances (TBARS) เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณของ glutathione ในปอด ตับ ไต และระดับของเอนไซม์ glutathione peroxidase, glutathione S-transferase, superoxide dismutase และ catalase (เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระ) ในเลือด สมอง ปอด หัวใจ ตับ ไต และอวัยวะสืบพันธุ์ของหนูลดลง นอกจากนี้ยังทำให้เนื้อเยื่อตับเกิดการตาย ระดับของเอนไซม์ transmainases, alkaline phosphatase และ lactate dehydrogenase ในเลือดเพิ่มขึ้น ระดับ protein, albumin และ globulin ในเลือดลดลง ในขณะที่ระดับ bilirubin, urea และ creatinine เพิ่มขึ้น รวมทั้งทำให้เลือดเป็นพิษ จากผลการทดลองพบว่าหนูที่ได้รับยาพาราเซตามอลขนาด 650 มก./กก.ร่วมกับสาร quercetin ขนาด 50 มก./กก. หรือร่วมกับสาร curcumin 20 มก./กก. ระดับของ TBARS จะไม่เพิ่มขึ้น ระดับของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระกลับสู่ภาวะปกติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาพาราเซตามอล และยา N-acetylcysteine (ยาต้านพิษของยาพาราเซตามอล) นอกจากนี้สาร quercetin และสาร curcumin ยังช่วยในการปกป้องเนื้อเยื่อตับ และทำให้การทำงานของตับและไตเป็นปกติด้วย โดยที่สาร curcumin จะมีฤทธิ์มากกว่า ดังนั้นจึงอาจสามารถสรุปได้ว่าการได้รับสาร quercetin หรือสาร curcumin ร่วมกับยาพาราเซตามอลสามารถยับยั้งการเกิดพิษจากยาดังกล่าวได้เทียบเท่ากับยา N-acetylcysteine
Food Chem Toxicol 2010;48(11):3246-61