ทำการศึกษาในหนูแรท 60 ตัว โดยแบ่งหนูออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 10 ตัว กลุ่มที่ 1เป็นกลุ่มควบคุมให้กินอาหารปกติ กลุ่มที่เหลือทั้งหมด (กลุ่มที่ 2-6) ให้กินอาหารที่ทำให้เกิดคอเลสเตอรอลเกาะที่ผนังหลอดเลือด (atherogenic diet, ATH) ซึ่งประกอบด้วย คอเลสเตอรอล 2%, 0.5% cholate, 0.2% thyracil, 10% animal oil, น้ำตาล 5% และอาหาร 82.3% กลุ่มที่ 3-5 ให้กินอาหาร atherogenic diet ร่วมกับ 2,3,4',5-tetrahydroxystilbene 2-O-β-D-glucoside (TSG) จากต้น Polygonum multiflorum ทางสายยางให้อาหาร ขนาด 30, 60 และ 120 มก./กก./วัน ตามลำดับ กลุ่มที่ 6 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับยา simvastatin 2 มก./กก./วัน นาน 12 สัปดาห์ การทดสอบการคลายตัวของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ทำให้หดตัวด้วย phenylephrine แล้วทำให้คลายตัวด้วย acetylcholine พบว่าหลอดเลือดของหนูกลุ่มที่ได้รับ ATH อย่างเดียวจะคลายตัวได้ลดลง 35% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารปกติ กลุ่มที่ได้รับ TSG ขนาด 60 และ 120 มก./กก./วัน หลอดเลือดคลายตัวเพิ่มขึ้นจากการได้รับ ATH 22 และ 36% ตามลำดับ และในขนาด 120 มก./กก./วัน เพิ่มความไวในการตอบสนองต่อ acetylcho- line เมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มที่ได้รับ ATH เพียงอย่างเดียว โดยที่กลุ่มที่ได้รับ TSG และ simvastatin ไม่มีความแตกต่างกัน นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับ TSG ขนาด 60 และ 120 มก./กก./วัน จะป้องกันการลดลงของ eNOS (endothelial nitric oxide synthase) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และเพิ่ม iNOS (inducible nitric oxide synthase) ซึ่งเป็นสารสร้าง NO (nitric oxide) เมื่อมีการอักเสบในซีรัม และหลอดเลือดแดงใหญ่ของหนูที่ได้รับ ATH จากการศึกษาสรุปได้ว่าสาร TSG สามารถช่วยให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดทำงานได้อย่างปกติและดีขึ้น
Planta Med 2009;75:1209-14