ผลของการดื่มไวน์แดงต่อสารต้านอนุมูลอิสระ

การศึกษาผลของการดื่มไวน์ต่อการทำงานของเอ็นไซม์ และการแสดงออกของยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับสารต้านอนุมูลอิสระ ในอาสาสมัคร จำนวน 8 คน ที่มีอายุระหว่า 23-37 ปี (เฉลี่ย 28.75±3.33) ทั้งชายและหญิง โดยแบ่งการทดลองออกเป็นสองระยะ ในระยะแรกอาสาสมัครจะได้รับอาหารที่ควบคุมปริมาณสาร phenolic (LPD) เพื่อป้องกันผลที่มาจากอาหารชนิดอื่น และให้ดื่มไวน์แดงทุกวัน วันละ 300 มิลลิลิตร เป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากนั้น 4-5 เดือน ทำการทดลองระยะที่สองโดยให้อาสาสมัครรับประทานอาหารแบบ LPD เพียงอย่างเดียว เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ก่อนการทดลองทั้งสองระยะ จะต้องมีการเตรียมร่างกายก่อนสองวัน ทำการเก็บวิเคราะห์ค่าเลือด ในวันที่ 0, 1 และ 7 จากทั้งสองช่วงการทดลอง ผลการตรวจพบว่าอาหารแบบควบคุมสาร phenolic มีผลเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยา oxidative stress ทำให้เกิดการสร้าอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นโดยค่า superoxide dismutase (SOD), catalase (CAT) และ glutathione reductase (GR) ในเลือดลดลง หลังจากการดื่มไวน์มีค่า SOD, CAT และ GR สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p <0.05) แสดงให้เห็นว่าการดื่มไวน์แดงมีผลในการยับยั้งการเกิด oxidative stress อย่างไรก็ตามการแสดงออกของยีน CAT gene มีการแสดงออกเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในระยะที่ได้รับอาหาร LPD เพียงอย่างเดียว แต่การแสดงออกของยีน SOD gene มีการแสดงออกเพิ่มขึ้นในระยะการทดลองที่ได้รับอาหารแบบ LPD พร้อมกับดื่มไวน์ แสดงว่าในกรณีนี้ความสัมพันธ์ในการแสดงออกของยีนกับการทำงานของเอ็นไซม์ SOD และ CAT ไม่เป็นไปในแบบเดียวกัน ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการดื่มไวน์มีผลต่อการทำงานของเอ็นไซม์ และการแสดงออกของยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการเกิดโรคที่มาจากปฏิกิริยา reactive oxygen species

J. Agric. Food Chem. 2009; 57: 6578-83