ผลของการบริโภคหน่อไม้ต่อภาวะไขมันในเลือดและการทำงานของลำไส้ในผู้หญิงสุขภาพดี

การศึกษาผลระยะสั้นของการบริโภคหน่อไม้ซึ่งเป็นแหล่งใยอาหารต่อระดับน้ำตาลในซีรัม ภาวะไขมันในเลือด การทำงานของตับและโรคท้องผูกในผู้หญิงวัยรุ่นจำนวน 8 คน อายุระหว่าง 21-23 ปี ซึ่งมีสุขภาพดี โดยกลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุม) รับประทานอาหารที่ไม่มีเส้นใย, กลุ่มที่ 2 รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยเซลลูโลสขนาด 25 กรัม และกลุ่มที่ 3 รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยหน่อไม้ขนาด 360 กรัม ติดต่อกันเป็นเวลา 6 วัน ทำการวัดผลทางชีวเคมีในเซรัม เช่น ระดับ glucose, triacylglycerols, cholesterol รวม, high-density lipoprotein cholesterol, low-density lipoprotein cholesterol, glutamic pyruvic tranaminase, glutamic oxaloacetic transaminase และ antherogenic index และทำแบบสอบถามเกี่ยวกับการขับถ่าย เพื่อวิเคราะห์ผลทางสถิติ และวิเคราะห์ความหลากหลายของการทดสอบ จากผลการศึกษาพบว่าระดับ cholesterol รวม, low-density lipoprotein cholesterol ในเซรัมและ antherogenic index มีค่าลดลงในกลุ่มที่รับประทานหน่อไม้ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานอาหารไม่มีเส้นใยทุกกลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันของระดับน้ำตาลในเซรัม ในกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ปริมาณของอุจจาระและความถี่ของการขับถ่ายในกลุ่มที่รับประทานหน่อไม้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

สรุปได้ว่าหน่อไม้เป็นแหล่งใยอาหารซึ่งเป็นประโยชน์ต่อคนโดยลดไขมันในเลือดและส่งเสริมการทำงานของลำไส้

Nutrition 2009;25:723-728