การศึกษาผลของสารสกัดชาเขียว ซึ่งพบสารโพลีฟีนอลในปริมาณสูง ต่อการต้านความเสียหายของ macromolecule ในเนื้อเยื่อหัวใจหนูแรทอายุน้อยและหนูแรทอายุมาก โดยแบ่งการทดลองเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่1 (กลุ่มควบคุมหนูแรทอายุน้อย) ป้อนยาหลอก กลุ่มที่ 2 (กลุ่มทดลองหนูแรทอายุน้อย) ป้อนสารสกัดชาเขียวขนาด 100 มก./กก./วัน กลุ่มที่ 3 (กลุ่มควบคุมหนูแรทอายุมาก) ป้อนยาหลอก และกลุ่มที่ 4 (กลุ่มทดลองหนูแรทอายุมาก) ป้อนสารสกัดชาเขียวขนาด 100 มก./กก./วัน โดยทุกกลุ่มป้อนติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน จากการศึกษาพบว่าเนื้อเยื่อหัวใจของกลุ่มหนูแรทอายุมากมีระดับ lipid peroxidation , protein carbonyls เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และระดับ glutathione redox status, protein thiol, เอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ และสารต้านอนุมูลอิสระที่ไม่ใช่เอนไซม์ลดลง เมี่อเปรียบเทียบกับกลุ่มหนูแรทอายุน้อย
ภายหลังที่หนูแรทอายุมากกินสารสกัดชาเขียวขนาด 100 มก./กก./วัน ติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน พบว่าระดับ lipid peroxidation , protein carbonyls ลดลงและระดับ total thiols เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับหนูแรทอายุมากซึ่งกินยาหลอก นอกจากนี้พบว่าระดับของสารต้านอนุมูลอิสระที่ไม่ใช่เอนไซม์ เช่น reduced glutathione (GSH) และสัดส่วนของ reduced glutathione/oxidized glutathione, glutathione redox index , ascorbate และ α-tocopherol เพิ่มขึ้น และพบว่าเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระได้แก่ superoxide dismutase (SOD), catalase (CAT), glutathione peroxidase (GPx), glutathione reductase (GR), glucose-6-phosphate dehydrogenase (G6PDH) เพิ่มขึ้น แต่ เอนไซม์ aspartate transaminase (AST) ลดลง ในกลุ่มหนูแรทอายุมากซึ่งกินสารสกัดชาเขียวเมื่อเปรียบเทียบกับหนูแรทอายุมากซึ่งกินยาหลอก และไม่แตกต่างกับหนูแรทอายุน้อย ส่วนหนูแรทอายุน้อยที่กินสารสกัดชาเขียวไม่มีความแตกต่างกับหนูแรทอายุน้อยกลุ่มคววบคุม
สรุปได้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระจากชาเขียวช่วยปรับภาวะสมดุลสารต้านอนุมูลอิสระของเนื้อเยื่อหัวใจในหนูแรทอายุมาก
Nutrition 2009;25:847-854