Glucosyl Hesperidin (GH, อนุพันธ์ที่ละลายน้ำได้ของ Hesperidin สารฟลาโวนอยด์ที่พบในพืชตระกูลส้ม) การทดสอบประสิทธิภาพของ GH ในการป้องกันไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ A (Influenza A Virus: IAV) 3 สายพันธุ์ ได้แก่ H1N1, H3N2, H5N3 การทดลองแบ่งออกเป็น 3 วิธี โดยวิธีที่ 1 นำเซลล์ Madin-Darby canine kidney (MDCK) บ่มในสารละลาย GH ความเข้มข้น 0.39-25 มิลลิโมลาร์ ที่อุณหภูมิ 34 เซลเซียส นาน 12 ชั่วโมง แล้วนำไปเซลล์เพาะบ่มด้วยไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ A ที่อุณหภูมิ 34 เซลเซียส นาน 12 ชั่วโมง วิธีที่สอง นำไวรัสแต่ละสายพันธุ์แช่ในสารละลาย GH ความเข้มข้น 0.39-25 มิลลิโมลาร์ นาน 30 นาที ที่อุณหภูมิห้อง จากนั้นนำเซลล์ MDCK ลงแช่ในสารละลายผสมนาน 1 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้อง และวิธีที่ 3 นำเซลล์ MDCK ที่ติดเชื้อไวรัสแล้วไปแช่ในสารละลาย GH ความเข้มข้น 0.39-25 มิลลิโมลาร์ เป็นเวลา12 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 34 เซลเซียส จากนั้นทำการวัดปริมาณไวรัสที่เพิ่มขึ้นจากการจำลองตัวเอง พบว่าการให้ GH แก่เซลล์ก่อนติดเชื้อไวรัส (วิธีที่ 1) ไม่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัส ในขณะที่การให้ GH ไปพร้อมกับช่วงที่เซลล์ติดเชื้อ (วิธีที่ 2) และการให้ GH หลังจากที่เซลล์ติดเชื้อ (วิธีที่ 3) สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้ และการยับยั้งนี้จะเพิ่มขึ้นหากเพิ่มปริมาณความเข้มข้น โดย GH ป้องกันการเพิ่มจำนวนของไวรัสด้วยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ sialidase ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของไวรัสทั้งในระยะแรกและระยะสุดท้าย แต่ไม่มีผลยับยั้งการเกาะติดระหว่างเซลล์โฮสท์กับไวรัส และไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์เมื่อใช้สารละลาย GH ในความเข้มข้น 0-25 มิลลิโมลาห์
Biol. Pharm. Bull. 2009; 32(7): 118-92