สารโพลีฟีโนลิคในเครื่องดื่มลดการเกิดแบคทีเรียบนแผ่นเคลือบฟัน

การศึกษาฤทธิ์ของสารโพลีฟีโนลิคในเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ต่อการเกิดแบคทีเรียบนแผ่นเคลือบฟัน (enamel slaps) ในช่องปาก โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพช่องปากดีจำนวน 6 คน นำแผ่นเคลือบฟันติดกับที่ยึดขากรรไกร (splints) หลังจากนั้นนำที่ยึดขากรรไกรใส่เข้าไปในช่องปากอาสาสมัคร โดยติดไว้ที่ฟันกรามน้อย (premolar)ด้านบน ในตำแหน่งซี่ที่1และซี่ที่2 และฟันกรามด้านบน ในตำแหน่งซี่ที่1 (1st molar) ทิ้งไว้เป็นเวลา 1 นาที เพื่อให้เกิดฝ้าขึ้นบนแผ่นเคลือบฟัน ให้อาสาสมัคร1คน/เครื่องดื่ม 1 ชนิด กลั้วปากด้วย ชาดำ, ชาเขียว, น้ำองุ่น, ชา Cistus และไวน์แดง ขนาด 200 มิลลิลิตร เป็นเวลา 10 นาที หลังจากการกลั้วยังคงให้แผ่นเคลือบฟันอยู่ในปากต่อไปอีก 19 นาทีและ 109 นาทีตามลำดับ ต่อจากนั้นนำแผ่นเคลือบฟันออกจากที่ยึดขากรรไกรล้างด้วยน้ำเป็นเวลา 5 วินาที ตรวจสอบการเกาะติดของแบคทีเรียบนแผ่นเคลือบฟัน โดยการนับจำนวนการเกาะติดของแบคทีเรียด้วยวิธี DAPI-staining (4',6-diamidino-2-phenylindole) และตรวจหา eubacteria และ streptococci ด้วยวิธี fluorescence-in situ  hybridization (FISH) พบว่าการกลั้วปากด้วยเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีสารโพลีฟีโนลิคมีผลลดจำนวนแบคทีเรียที่ตรวจพบ โดยจำนวนของการเกาะติดของแบคทีเรียต่ำสุดพบในคนที่กลั้วปากด้วยไวน์แดง, ชา Cistus และชาดำ เมื่อวัดด้วยวิธี DAPI (การเกาะติดของแบคทีเรียลดลง 66% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้กลั้วด้วยเครื่องดื่มชนิดใด) นอกจากนี้การตรวจเชื้อด้วยวิธี FISH ยังแสดงให้เห็นถึงการลดลงของแบคทีเรียอย่างมีนัยสำคัญเมื่อกลั้วปากด้วยเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีสารโพลีฟีโนลิค

สรุปได้ว่าการกลั้วปากด้วยเครื่องดื่มที่มีสารโพลีฟีโนลิค มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกาะติดของจุลินทรีย์ซึ่งก่อให้เกิดโรคในช่องปาก

Journal of dentistry 2009;37:560-566