ผลของควันบุหรี่ต่อตัวชี้วัดทางชีวภาพในน้ำลายของเด็ก

การวิจัยในเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีการสูบบุหรี่ โดยคัดเลือกเด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากครอบครัวในปริมาณที่ต่างกัน 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่สมาชิกในบ้านสูบบุหรี่น้อยกว่า 10 มวนต่อวัน กลุ่มที่ 2 สมาชิกในบ้านสูบบุหรี่ 10-20 มวนต่อวัน และกลุ่มที่ 3 คือกลุ่มที่มีสมาชิกในบ้านสูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวัน โดยสุ่มคัดเลือกเด็ก 30 คน (ชาย 15 คน หญิง 15 คน) จากแต่ละกลุ่มตัวอย่าง รวม 90 คน เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ไม่ได้อยู่ในครอบครัวที่สูบบุหรี่จำนวน 90 คน

ผลการศึกษาพบว่าลักษณะพื้นฐานของครอบครัวทั้งด้านรายได้ การศึกษาของผู้ปกครอง รวมทั้งพฤติกรรมการแปรงฟันและการบริโภคน้ำตาลของเด็กทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อศึกษาถึงดัชนีชี้วัดทางชีวภาพในน้ำลายพบว่าปริมาณสาร cotinine ในน้ำลาย ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด และปริมาณเชื้อ Streptococcus mutans  และเชื้อ Lactobacilli  ในน้ำลายของเด็กที่ได้รับควันบุหรี่มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ และค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำลาย อัตราการหลั่งน้ำลาย และความสามารถในการปรับค่าความเป็นกรดด่างของน้ำลายของเด็กกลุ่มที่ได้รับควันบุหรี่ลดลง

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากครอบครัวในปริมาณไม่เท่ากันทั้ง 3 กลุ่มพบว่าเด็กกลุ่มที่ 3 (ครอบครัวที่สูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวัน) มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด ปริมาณเชื้อ Streptococcus mutans  และเชื้อ lactobacilli  สูงที่สุด ส่วนค่าความเป็นกรด-ด่าง ความสามารถในการปรับค่าความเป็นกรดด่าง และอัตราการหลั่งของน้ำลายของเด็กกลุ่มที่ 3 มีค่าต่ำกว่าอีกสองกลุ่มที่ครอบครัวมีการสูบบุหรี่น้อยกว่า

Archives of Oral Biology 2008; 53:969-74