ทดสอบฤทธิ์ของสาร procyanidins จากเมล็ดองุ่น ความเข้มข้น 45 มคก./มล. กับเซลล์ macrophage Raw 264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโฟมเซลล์ (foam cell) ด้วย low density lipoproteins ที่ถูกออกซิไดซ์ [moderatedly oxidized LDL (oxLDL) และ minimally oxidized LDL (moxLDL)] ความเข้มข้น 25 มคก./มล. หรือเหนี่ยวนำด้วย lipopolysaccharide (LPS) ความเข้มข้น 0.5 มคก./มล. ร่วมกับ oxLDL ความเข้มข้น 25 มคก./มล. ผลการทดลองพบว่าสาร procyanidins ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ในเซลล์ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย oxLDL, moxLDL หรือ LPS ร่วมกับ oxLDL แต่มีผลลดการรวมตัวของไขมัน ได้แก่ คอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลเอสเทอร์ คอเลสเตอรอลอิสระ และไตรกลีเซอร์ไรด์ในเซลล์ นอกจากนี้สาร procyanidins ยังมีผลลดการแสดงออกของยีน CD36 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการ uptake ไขมันที่ถูกออกซิไดซ์ เพิ่มการแสดงออกของยีน ABCA1 ซึ่งควบคุมการเคลื่อนที่ของคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ (macrophage cholesterol efflux) และยังลดการแสดงออกของ inducible nitric oxide synthase และ kappa beta inhibitor-alpha ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบในเซลล์ด้วย สรุปว่าสาร procyanidins จากเมล็ดองุ่น มีผลยับยั้งการเกิดโฟมเซลล์ โดยลดการรวมตัวของไขมัน และควบคุมยีนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของคอเลสเตอรอล และการอักเสบ
J Agric Food Chem 2009;57:2588-94