การศึกษาประสิทธิภาพของเจลยางมะละกอรักษาแผลไฟไหม้ในหนูถีบจักรเพศผู้ โดยแบ่งการทดลองเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (negative control) ไม่ต้องทายาชนิดใด กลุ่มที่ 2 ทา Carbopol 974P NF gel กลุ่มที่ 3 และ 4 ทา Carbopol gel ซึ่งประกอบด้วยยางมะละกอแห้งเข้มข้น 1.0 % และ 2.5 % ตามลำดับ กลุ่มที่5 (positive control) ทายามาตรฐานครีมที่มี silver sulphadiazine ผสมกับ chlorhexidine gluconate ซึ่งขนาดของยาที่ใช้ในกลุ่มที่ 2 5 เท่ากับ 100 มิลลิกรัม/หนู1ตัว โดยทาวันละ 1 ครั้งบริเวณแผลไฟไหม้จนกระทั่งแผลหาย ในวันที่ 11 ของการรักษาทำการวัดหาปริมาณ hydroxyproline ในเนื้อเยื่อแผล พบว่ากลุ่มที่ 3 ปริมาณ hydroxyproline เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ 1 วัดขนาดของแผลทุกๆ 4 วัน เพื่อหาค่า การหดตัวของแผลพบว่าในวันที่ 12 กลุ่มที่ 4 และในวันที่ 20 กลุ่มที่ 3, 4 และ 5 มีการหดตัวของแผลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้เมื่อวัดค่าการเกิดผิวหนังคลุมบริเวณแผล พบว่า ในกลุ่มที่ 4 ใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด
Journal of Ethnopharmacological 121 (2009) 338-341