สารสกัดจากใบสะเดายับยั้งเอนไซม์ Phospholipase A2 ในพิษงู

การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเมทานอลจากใบสะเดา (Azadirachta indica   (Neem))ขนาด 2.5, 5, 25 และ 50 ไมโครกรัม/มิลลิลิตรในการยับยั้งเอนไซม์ Phospholipase A2 (PLA2) ซึ่งพบในพิษงูเห่า (Naja naja   และ Naja kaouthia  ) และงู Russcell’s viper (Daboia russelli  ) ในหลอดทดลอง พบว่าสารสกัดเมทานอลจากใบสะเดาขนาด 2.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ไม่สามารถยับยั้งเอนไซม์ Phospholipase A2 ความเข้มข้น 1.0 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จากพิษงูทั้ง 3 ชนิด สารสกัดเมทานอลจากใบสะเดาขนาด 5, 25 และ 50 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถยับยั้งเอนไซม์ Phospholipase A2 จากพิษงูทั้ง3 ชนิด โดยสารสกัดเมทานอลจากใบสะเดาขนาด 50 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถยับยั้งเอนไซม์ Phospholipase A2 ความเข้มข้น 1.0 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จากพิษงูทั้ง 3 ชนิดได้มากที่สุดเท่ากับ 52% 49% และ 32% ตามลำดับ
               การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของ ALPLAI (Azadirachta indica   PLA2 inhibitor) ซึ่งแยกจากสารสกัดเมทานอลจากใบสะเดาขนาด 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ในการยับยั้งเอนไซม์ Phospholipase A2 ความเข้มข้น 1.0 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จากพิษงูทั้ง 3 ชนิดและผลจากพิษงูในการทำลายเซลล์ตับ, หัวใจและปอดของไก่ในหลอดทดลอง พบว่า ALPLAI สามารถยับยั้งเอนไซม์ Phospholipase A2 จากพิษงูทั้ง 3 ชนิดได้อย่างมีนัยสำคัญและยับยั้งการแข็งตัวของเลือด การแตกของเม็ดเลือดแดงและการบวมในเนื้อเยื่อ นอกจากนี้เปรียบเทียบผลของ ALPLAI และแอนติบอดีจากกระต่ายในการยับยั้งเอนไซม์ Phospholipase A2 จากพิษงู Naja kaouthia   ในหลอดทดลอง พบว่า ALPLAI สามารถยับยั้งการแข็งตัวของเลือดได้ดีกว่าแอนติบอดีจากกระต่าย
               จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ALPLAI จากใบสะเดาเหมาะที่จะพัฒนาเป็นยาต้านพิษงูในอนาคต

Toxicon 51 (2008) 1548-1553