เมื่อทำการทดลองในหลอดทดลอง สารสกัดด้วยน้ำร้อนจากใบชาอู่หลง ความเข้มข้น (วัดได้ในวันสุดท้ายการทดลอง) 100 มคก./มล. จะทำให้เซลล์ตาย แต่ที่ความเข้มข้น 0 - 50 มคก./มล. ไม่ทำให้เซลล์ melanoma ตาย และลดการสร้างเมลานินในเซลล์ด้วย ที่ความเข้มข้นเดียวกันคือ 50 มคก./มล. สารสกัดจะออกฤทธิ์ได้ดีกว่า L-ascorbic acid (AsA) สารสกัดและ AsA ยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ของเห็ดและในเซลล์ melanoma แต่สารสกัดที่ความเข้มข้น 50 มคก./มล. จะออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ในเซลล์ melanoma ได้ดีกว่า AsA ในขณะที่ AsA จะออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ของเห็ดได้ดีกว่าและไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ในเซลล์ การลดลงของเอนไซม์ tyrosinase เป็นการลดลงของ tyrosinase protein และ mRNA ในเซลล์
นอกจากนั้นเมื่อป้อนสารสกัดจากชาอู่หลงในขนาด 1% (w/v) ให้หนู brownish guinea pig เฉลี่ย 52 มล./วัน (มีโพลีฟีนอลประมาณ 138.4 มก./วัน) นาน 7 สัปดาห์ แล้วเหนี่ยวนำให้หนูเกิดการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนังด้วยการฉายรังสี พบว่า จำนวนเซลล์ melanocytes ในหนูลดลง ไม่พบผลข้างเคียงใดๆ ยกเว้นน้ำหนักตัวและปริมาณการกินอาหารต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ดังนั้น ชาอู่หลงอาจจะช่วยลดการสร้างเมลานิน ทำให้ผิวขาวได้
Biosci Biotechnol Biochem 2007;71(8):1879-85