สารต้านการอักเสบ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจากดอกดาวเรืองฝรั่ง (Calendula officinalis)

มีการทดสอบสารในกลุ่ม triterpene glycoside 10 ชนิด คือ calendulaglycoside A (1), calendulaglycoside A 6´-O- methyl ester (2), calendulaglycoside A 6´-O-n- butyl ester (3), calendulaglycoside B (4), calendulaglycoside B 6´-O-n- butyl ester (5), calendulaglycoside C (6),calendulaglycoside C 6´-O- methyl ester (7), calendulaglycoside C 6´-O-n- butyl ester (8), calenduloside F 6´-O-n- butyl ester (9) และ calenduloside G 6´-O- methyl ester (10) และสารในกลุ่ม flavonol glycoside 5 ชนิด คือ isorhamnetin 3-O- neohesperidoside (11), isorhamnetin 3-O- 2G-rhamnosylrutinoside (12), isorhamnetin 3-O- rutinoside(13), quercetin 3-O- glucoside (14) และ quercetin 3-O- rutinoside (15) ซึ่งแยกได้จากดอกดาวเรืองฝรั่ง พบว่า สาร 1-9 มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูถีบจักรที่ถูกชักนำให้เกิดการอักเสบที่ใบหูด้วย 12-O- tetradecanoyl phorbol-13-acetate (TPA) โดยมีค่า ID50 (50% inhibitory dose) อยู่ระหว่าง 0.05-0.20 มก./หู และสาร 1-10 มีฤทธิ์ต้านการกระตุ้น Epstein-Barr virus early antigen (EBV-EA) จากการชักนำด้วย TPA โดยมีค่า IC50 (50% inhibiotry concentration) อยู่ระหว่าง 471-487 mol ratio/32 pmol TPA และพบว่าสาร 9,10 มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว และเซลล์ melanoma

J Nat Prod 2006;69:1692-6