การทดสอบฤทธิ์ช่วยให้ผิวขาวของสารสกัด ethanol จากเมล็ดที่ยังไม่โตเต็มที่ของอินทผลัมสายพันธุ์ Ajwa (unmature date seed) ซึ่งมีปริมาณผลรวมสารฟีนอลิก (total phenolic content; TPC) เทียบเท่ากับสารมาตรฐาน gallic acid ขนาด 77.52±1.55 มก./นน.สารสกัด 1 ก. และมีผลรวมสารฟลาโวนอยด์ (total flavonoid content; TFC) เทียบเท่ากับสารมาตรฐาน catechin ขนาด 58.85±1.12 มก./นน.สารสกัด 1 ก.เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้ง mushroom tyrosinase activity พบว่าสารสกัด ethanol มีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 48.60±1.02 มคก./มล. ในขณะที่สารมาตรฐาน arbutin มีค่า IC50 เท่ากับ 131.03±2.01 มคก./มล. และการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีในเซลล์ melanocyte ชนิด MNT-1 โดยใช้สารสกัดขนาด 25, 50 และ 100 มคก./มล. เปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน arbutin ขนาด 100 มคก./มล. พบว่าสารสกัด ethanol สามารถยับยั้งการสร้างเม็ดสีได้ โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ และที่ขนาด 100 มคก./มล. สารสกัด ethanol สามารถยับยั้งการสร้างเม็ดสีได้ดีกว่าสาร arbutin การศึกษากลไกการออกฤทธิ์พบว่า สารสกัด ethanol ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีผ่านการยับยั้ง (downregulation) โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดสี ได้แก่ tyrosinase (Tyr), tyrosinase-related protein-1 และ -2 (Trp-1, -2) และ microphthalmia-associated transcription factor (MITF) แสดงให้เห็นว่าสารสกัด ethanol จากเมล็ดอาจนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวขาวได้
Antioxidants (Basel). 2024;13(2):238. doi: 10.3390/antiox13020238.