การศึกษาทางระบาดวิทยาแบบ case-control study เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและความเสี่ยงในการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (ulcerative colitis) โดยทำการสำรวจประชากรชาวญี่ปุ่นจำนวน 1,049 คน (เพศชาย 603 คน และเพศหญิง 446 คน, อายุเฉลี่ย 40.9 - 59.1 ปี) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ เป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบจำนวน 384 คน (เพศชาย 227 คน และเพศหญิง 157 คน) และผู้ที่ไม่เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบหรือกลุ่มควบคุม 665 คน (เพศชาย 376 คน และเพศหญิง 289 คน) ให้อาสาสมัครทั้งหมดทำแบบสอบถามเกี่ยวกับชีวิตประจำวันและการรับประทานอาหาร (food-frequency questionnaire; FFQ) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสถิติของการบริโภคและการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบแบบ Logistic regression analysis โดยกำหนดช่วงความเชื่อมั่น (confidence interval) ที่ 95% ด้วยโปรแกรม SAS ผลจากการวิเคราะห์พบว่า การดื่มกาแฟและน้ำอัดลมในปริมาณที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับค่าความเสี่ยงการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบที่ลดลง (ค่า P for trend สำหรับการดื่มกาแฟและน้ำอัดลมมีค่าเท่ากับ <0.0001 และ 0.01 ตามลำดับ) ในขณะที่การรับประทานขนมขบเคี้ยวที่มีช็อกโกแลตในปริมาณมากขึ้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน ชาดำ ชาเขียว และชาอู่หลงต่อความเสี่ยงการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ และการบริโภคคาเฟอีน ≥ 464.2 มก./วัน มีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกับความเสี่ยงการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (adjust OR, 0.44; 95% confidence interval, 0.29-0.67; PP for trend, < 0.0001) ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การดื่มกาแฟและการได้รับคาเฟอีนมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงการเกิดโรคโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
J Gastroenterol Hepatol. 2024;39(3):512-8.