ฤทธิ์ต้านการอักเสบของชะมวง

การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร tetraprenyltoluquinone (TPTQ) สารประกอบกลุ่ม quinone ที่แยกได้จากเปลือกต้นชะมวง การทดสอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (in silico) ศึกษาการจับตัวกันของโครงสร้างของ TPTQ และโปรตีน nuclear factor kappa B (NF-ĸB) (PDB: 2RAM)โดยใช้ Gnina application ผ่านทาง Google Colab การทดสอบในหลอดทดลองเพื่อศึกษาการเกิดความเป็นพิษของสาร TPTQ ในเซลล์ Raw 264.7 โดยใช้เทคนิค 3-[4,5-dimethylthiazol-2-yl]-2,5 diphenyl tetrazolium bromide (MTT) ทดสอบความสามารถในการจับกินสิ่งแปลกปลอม (phagocytosis) ด้วยวิธี Neutral Red Uptake assay ทดสอบการหลั่ง interleukin-6 (IL-6) และ tumor necrosis factor alpha (TNF-α) ด้วยวิธี enzyme linked immunosorbent assay (ELISA) และการทดสอบในหนูเม้าส์ด้วยการวิเคราะห์ cluster of differentiation 8+ (CD8+), natural killer cell (NK cell) และ IL-6 ด้วยวิธี ELISA ผลจากการทดสอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์พบว่าสาร TPTQ จับกับNF-ĸB ด้วยค่าพลังงานการเข้าจับ (binding affinity) ที่ต่ำกว่าลิแกนด์ดั้งเดิม (native ligand) และเข้าจับที่ตำแหน่ง active site ได้เช่นเดียวกัน บ่งชี้ว่าสาร TPTQ มีศักยภาพในการเข้าจับและยับยั้งโมเลกุล NF-ĸB จากการทดสอบในหลอดทดลองพบว่าสาร TPTQ มีผลลดดัชนีการจับกินสิ่งแปลกปลอม -ลดการหลั่งของ IL-6 และ TNF-α และการทดสอบในสัตว์ทดลองพบว่าสาร TPTQ มีฤทธิ์ลด CD8+ ลดการหลั่ง NK cell และ IL-6 เล็กน้อย ในหนูเม้าส์ จากผลการทดสอบครั้งนี้นักวิจัยสรุปว่าสาร TPTQ ที่แยกได้จากชะมวงมีฤทธิ์การยับยั้งที่ตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันและต้านการอักเสบ

J Ethnopharmacol. 2024;320:117381. doi: 10.1016/j.jep.2023.