ฤทธิ์ของเห็ดหูหนูต่อการปรับปรุงภาวะน้ำหนักเกินในหนูเม้าส์

การทดสอบฤทธิ์ของสารโพลีแซคคาไรด์ที่แยกจากเห็ดหูหนู (Auricularia auricula-judae Bull.) ในหนูเม้าส์โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มควบคุมปกติ, กลุ่มที่ให้อาหารไขมันสูง, กลุ่มที่ให้สารโพลีแซคคาไรด์ที่แยกจากเห็ดหูหนู 50 มก./กก./วัน ผ่านทางท่อทางปาก และกลุ่มที่ให้อาหารไขมันสูงร่วมกับให้สารโพลีแซคคาไรด์ที่แยกจากเห็ดหูหนู 100 มก./กก./วัน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการทดสอบพบว่าสารโพลีแซคคาไรด์ที่แยกจากเห็ดหูหนูมีผลต่อการปรับปรุงภาวะน้ำหนักเกิน การดื้อต่ออินซูลิน ความผิดปกติของเมทาบอลิซึมของน้ำตาลและไขมัน และการถูกทำลายของตับในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินด้วยอาหารไขมันสูง นอกจากนี้ยังมีผลลดความผิดปกติของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร กระตุ้นการแบ่งตัวของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ ได้แก่ Lactobacillus และ Roseburia และเพิ่มระดับของกรดไขมันสายสั้น (short-chain fatty acids; SCFAs), folate และวิตามิน B12 (cobalamin) และมีผลยับยั้งแบคทีเรียที่ไม่เป็นประโยชน์ ปกป้องการทำงานของลำไส้ และชวยปองกันความเสียหายจากภาวะเลือดเปนพิษ (endotoxemia) ลดตัวชี้วัดการอักเสบ ได้แก่ TNF-α และ IL-6 ยับยั้งวิถีการส่งสัญญาณ TLR4/JNK และกระตุ้นการทำงานของ AKT และ AMPK จากผลการทดสอบครั้งนี้นักวิจัยสรุปว่าสารโพลีแซคคาไรด์ที่แยกจากเห็ดหูหนูมีฤทธิ์ปรับปรุงภาวะน้ำหนักเกินในหนูเม้าส์ โดยบทบาทสำคัญคือการควบคุมจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารและยับยั้งวิถีการส่งสัญญาณ TLR4/JNK

Int J Biol Macromol. 2023;250:126172. doi: 10.1016/j.ijbiomac.2023.126172.