ฤทธิ์ของน้ำคั้นแก้วมังกรต่อการป้องกันการถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความเสียหายด้วย aflatoxin B1

การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำคั้นแก้วมังกรในหนูแรท โดยป้อนน้ำคั้นแก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อสีแดง (Hylocereus polyrhizus; red dragon fruit) 1.5 มล. ผ่านทางท่อเข้าสู่กระเพาะอาหาร เป็นระยะเวลา 30 วัน และในวันที่ 31 เหนี่ยวนำหนูแรทให้เกิดความเสียหายด้วยการป้อน aflatoxin B1 (AFB1) 250 มคก./กก. ผ่านทางท่อ หลังจากนั้น 48 ชม. ทำการวัดค่าการทำงานของตับ alanine transaminase (ALT), aspartate aminotransferase (AST) และ alkaline phosphatase (ALP) และดัชนีชี้วัดสภาวะเครียด ได้แก่ thiobarbituric acid reactive species (TBARS) และ reactive species (RS) และตัวชี้วัดการต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ catalase (CAT), superoxide dismutase (SOD), glutathione S-transferase (GST) -และ glutathione (GSH) ในตับ และค่าเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ heat shock protein 70 (Hsp-70) และ nuclear factor erythroid 2-related factor 2 (Nrf2) ในตับ ผลการทดสอบพบว่าน้ำคั้นแก้วมังกรมีผลลดค่า ALP และหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย AFB1 ส่งผลทำให้ตับถูกทำลายโดยมีค่า TBARS, RS และ Hsp-70 เพิ่มขึ้น และค่า CAT, GSH และ Nrf2 ลดลง อย่างไรก็ตามน้ำคั้นแก้วมังกรมีผลป้องกันการถูกทำลายดังกล่าว จากผลการทดสอบครั้งนี้นักวิจัยสรุปว่าน้ำคั้นแก้วมังกรมีผลต่อการป้องกันการถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความเสียหายด้วย aflatoxin B1

J Fungi. 2023;9(9):874. doi:10.3390/jof9090874