ฤทธิ์ของใบมะม่วงหิมพานต์ต่อการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคผิวหนัง

การทดสอบฤทธิ์ของใบมะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale L.) ต่อการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคผิวหนังและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารกลุ่ม flavonol glycosides ได้แก่ kaempferol-3-O-glucoside (astragalin), myricetin-3-O-rhamnoside 3 (myricitrin), quercetin-3-O-glucoside (isoquercitrin) และ quercetin-3-O-rhamnoside (quercitrin) จากสารสกัดหยาบ และสาร flavonol aglycones ได้แก่ kaempferol, myricetin และ quercetin จาก hydrolyzed extract ผลพบว่า hydrolyzed extract มีฤทธิ์ที่ดีกว่าสารสกัดหยาบ สาร myricetin มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อยีสต์ที่ใช้ทดสอบทุกชนิดได้ดีที่สุด โดยมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Corynebacterium minutissimum ATCC23348 ด้วยค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อ (minimum inhibition concentration; MIC) เท่ากับ 7.81 มคก./มล. และสาร myricetin ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด จากการทดสอบ DPPH radical scavenging โดยมีค่า EC50 อยู่ระหว่าง 2.23-6.40 มคก./มล. รองลงมาคือสาร myricetin-3-O-rhamnoside

Nat Prod Res. 2023;37(12):2009-12. doi: 10.1080/14786419.2022.2112038.