ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียของชุมเห็ดเล็ก

การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดรากชุมเห็ดเล็ก (Senna occidentalis L.) ต่อการยับยั้งเชื้อมาลาเรีย พบว่าสารสกัดเมทานอล สารสกัดน้ำ สารสกัดเอทิลอะซีเตท สารสกัดคลอโรฟอร์ม สารสกัดเฮกเซนจากรากชุมเห็ดเล็ก สามารถยับยั้งเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum, 3D7 strain ในหลอดทดลอง และพบว่าสารสกัดจากตัวละลายแบบมีขั้วมีความสามารถในการยับยั้งเชื้อ P. Falciparum ได้ดีกว่าสารสกัดไม่มีขั้ว โดยสารสกัดเมทานอลให้ผลดีที่สุด มีค่า IC50 เท่ากับ 1.76 มคก./มล. และสารสกัดเฮกเซนให้ผลต่ำสุด มีค่า IC50 เท่ากับ 18.47 มคก./มล. สารสกัดน้ำ สารสกัดเอทิลอะซีเตท และสารสกัดคลอโรฟอร์ม มีค่า IC50 เท่ากับ2.283, 4.728 และ12.130 มคก./มล. ตามลำดับ ทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดเมทานอลและสารสกัดน้ำในเซลล์เพาะเลี้ยง (vero cell) พบค่าความเป็นพิษต่อเซลล์ร้อยละ 50 (CC50) เท่ากับ 247 และ 1,786 มคก./มล. ตามลำดับ และมีค่า selectivity index เท่ากับ 140 และ 781 ตามลำดับ และการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียโดยให้สารสกัดเมทานอลรากชุมเห็ดน้อยขนาด 100 และ 200 มก./กก. และสารสกัดน้ำรากชุมเห็ดน้อยขนาด 200 มก./กก. ผ่านทางปาก ในหนูเม้าส์ที่ติดเชื้อมาลาเรีย (Plasmodium berghei) และทดสอบด้วย Rane’s test เปรียบเทียบกับการป้อนยา pyrimethamine ขนาด 1 มก./กก. ติดต่อกันนาน 4 วัน ผลพบว่าสารสกัดเมทานอลขนาด 100 มก./กก. มีฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งการเพิ่มจำนานของเชื้อในสัตว์ทดลอง และเพิ่มระยะเวลาการอยู่รอดของสัตว์ทดลอง การศึกษานี้แสดงให้เห็นวาสารสกัดจากรากชุมเห็ดน้อยมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรียได้ทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง

BMC Complement Altern Med. 2023;23:71.