การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยจากใบและดอกของลั่นทมดอกขาว (Plumeria alba) ซึ่งสกัดด้วย Clevenger-type apparatus และวิเคราะห์องค์ประกอบด้วย Gas chromatography-mass spectrometry (GC/MS) พบว่า น้ำมันหอมระเหยจากดอกลั่นทมมีสาร linalool (23.91%), &-terpineol (10.97%), geraniol (10.47%), และ phenyl ethyl alcohol (8.65%) เป็นส่วนประกอบหลัก และน้ำมันหอมระเหยจากใบลั่นทมมีสาร benzofuran, 2,3-di, hydro-(3.24%), และ muurolol (1.40%) เป็นส่วนประกอบหลัก การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี hydrogen peroxide scavenging assay พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากส่วนใบและดอกมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 476.0 ± 0.4 และ 370.5 ± 0.5 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน ascorbic acid และ gallic acid มีค่า IC50 เท่ากับ 5.30 ± 0.2 และ 9.08 ± 1.6 มคก./มล. ตามลำดับ การทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากส่วนใบและดอกมีค่า IC50 เท่ากับ 2798 ± 1.1 และ 1014 ± 0.6 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน ascorbic acid และ gallic acid มีค่า IC50 เท่ากับ 14.30 ± 4.3 และ 2.26 ± 0.2 มคก./มล. ตามลำดับ การทดสอบด้วยวิธี TBARS assay พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากส่วนใบและดอกมีค่า IC50 เท่ากับ 3069 ± 0.9 และ 1943 ± 0.9 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน BHT มีค่า IC50 เท่ากับ 9.238 ± 1.7 มคก./มล. การทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพได้แก่ Bacillus subtilis, Enterococcus faecalis, Staphylococcus aureus, Candida albicans, Streptococcus pneumoniae, Klebsiella pneumoniae, Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli ด้วยวิธี microdilution assay พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากส่วนใบสามารถยับยั้งเชื้อ E. faecalis และ E. coli โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งได้ (minimum inhibitory concentration; MIC) เท่ากับ 12.5 มก./มล. ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากส่วนดอกสามารถยับยั้งเชื้อ B. subtilis, E. faecalis, S. aureus, P. aeruginosa, และ E. coli โดยมีค่า MIC อยู่ในช่วง 25-50 มก./มล. ในขณะที่ยาต้านเชื้อมาตรฐาน ciprofloxacin มีค่า MIC อยู่ในช่วง 1.563-3.125 มคก./มล. สำหรับเชื้อที่นำมาทดสอบทั้งหมด การทดสอบฤทธ์ยับยั้งการเกิด biofilm (biofilm Inhibition) ของเชื้อ P. Aeruginosa พบว่า น้ำมันหอมระเหยจากส่วนใบและดอกมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการเกิด biofilm ได้ครึ่งหนึ่ง (BIC50) เท่ากับ 60.06 และ 58.99 มก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่ยาต้านเชื้อมาตรฐาน gentamicin มีค่า BIC50 เท่ากับ 27.14 ± 1.0 มคก./มล. จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า น้ำมันหอมระเหยจากใบและดอกของลั่นทมดอกขาวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อแบคทีเรีย และยับยั้งการเกิด biofilm
Hindawi. 2023;1040478. doi:10.1155/2023/1040478.