ฤทธิ์ต้านภาวะข้อเสื่อมของหญ้าหวาน

ภาวะข้อเสื่อม (osteoarthritis; OA) เกิดจากกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ (articular cartilage) เสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกเสียดสีกันจนเกิดการอักเสบ การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบและฤทธิ์ยับยั้งการตายของเซลล์แบบ apoptotic ของสาร stevioside ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม diterpenoid glycoside ที่แยกได้จากหญ้าหวาน ในเซลล์กระดูกอ่อนของหนูเม้าส์ (mouse chondrocytes) ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสารก่อการอักเสบ interleukin-1β โดยให้สาร stevioside ในขนาด 25, 50, และ 100 มคก./มล. การวิเคราะห์ผลด้วย real-time quantitative polymerase chain reaction (RT-qPCR), the Griess reaction, และ enzyme linked immunosorbent assay (ELISA) พบว่า การเหนี่ยวนำด้วย interleukin-1β ทำให้เซลล์เกิดการสร้างสารก่อการอักเสบชนิด nitric oxide และ prostaglandin E2 การวิเคราะห์ผลด้วย Western blot พบการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ cartilage matrix metabolism, การเพิ่มขึ้นของ inflammatory factors, และกระบวนการตายแบบ apoptosis ของเซลล์กระดูกอ่อน ซึ่งสาร stevioside มีผลให้การเสื่อมของ extracellular matrix และกระบวนการตายแบบ apoptosis ของเซลล์กระดูกอ่อนช้าลง ทำให้สารก่อการอักเสบที่เกิดขึ้นลดลง รวมทั้งมีผลยับยั้งการกระตุ้น mitogen-activated protein kinase (MAPK) และ nuclear factor kappa B (NF-κB) signaling pathway การศึกษาด้วยวิธีการจำลองการจับเชิงโมเลกุล (Molecular docking) พบว่าสาร stevioside เข้าจับกับ p65, extracellular signal-regulated kinase (ERK), p38, และ c-Jun N-terminal kinase (JNK) ได้เป็นอย่างดี และการทดสอบในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะข้อเสื่อมด้วยการผ่าตัดหมอนรองข้อเข่าด้านใน (the destabilization of the medial meniscus; DMM) โดยหนูจะได้รับสารทดสอบขนาด 100 มก./กก. ด้วยการกรอกเข้าทางกระเพาะอาหารวันละ 1 ครั้ง นาน 8 สัปดาห์ การวิเคราะห์ผลด้วย X-ray image analysis พบว่า DMM ทำให้หนูเกิดภาวะกระดูกอ่อนแข็งตัว (cartilage sclerosis) และทำให้ช่องว่างบริเวณข้อเข่าแคบลง (thinning of the knee joint space) เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม ซึ่งสาร stevioside สามารถยับยั้งการปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ และการวิเคราะห์เนื้อเยื่อด้วย hematoxylin and eosin (HE), toluidine blue, Safranin O, immunohistochemical staining พบว่า DMM ทำให้กระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อถูกทำลาย (surface articular degradation), เกิดการการสูญเสีย proteoglycan (extensive proteoglycan depletion), และเซลล์กระดูกอ่อนมีจำนวนลดลงอย่างชัดเจน (obvious loss of chondrocytes) เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม ซึ่งสาร stevioside สามารถยับยั้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ และการวิเคราะห์ผลด้วย The Osteoarthritis Research SocietyInternational (OARSI) scores ซึ่งใช้ในการประเมินความรุนแรงของภาวะข้อเสื่อมพบว่า หนูที่ได้รับสาร stevioside มีคะแนนความรุนแรงของโรคน้อยกว่าหนูกลุ่ม DMM จากผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สาร stevioside จากหญ้าหวานมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและช่วยบรรเทาภาวะข้อเสื่อมได้

Int Immunopharmacol. 2023;115:109683. doi: 10.1016/j.intimp.2023.109683.