การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยต้นไม้หอม

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยต้นไม้หอม (Aquilaria malaccensis) ด้วยวิธี GC/MS พบ cubenol (22.26%), agarospirol (14.35%) และ aristolene (13.22%) เป็นองค์ประกอบสำคัญ และการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าน้ำมันหอมระเหยต้นไม้หอมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH, ABTS, และ metal chelating assays ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 40.14 ± 0.0192, 76.95 ± 0.0090 และ 26.96 ± 0.0244 มคล./มล. ตามลำดับ การทดสอบในหลอดทดลองพบว่าน้ำมันหอมระเหยต้นไม้หอมมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-amylase (IC50 = 30.78±0.0018 มคล./มล.) ยับยั้งเอนไซม์ไมโรซิเนส (IC50 = 38.06±0.0016 มคล./มล.) ยับยั้งการทำงานของ cholinesterase (IC50 = 13.41±0.0374 มคล./มล.) ต้านการเกิดนิ่วในการทดสอบการยับยั้งการรวมตัวของสารซิสเทอีน (IC50 = 34.14±0.0202 มคล./มล.) และต้านการอักเสบในการทดสอบการยับยั้งการเสียสภาพของโปรตีน (IC50 = 22.42±0.0560 มคล./มล.) การทดสอบความเป็นพิษของน้ำมันหอมระเหยต้นไม้หอมต่อสารพันธุกรรมในหอมหัวใหญ่ (Allium cepa test) ผลพบว่าน้ำมันหอมระเหยต้นไม้หอม ความเข้มข้น 1 มคล./มล. ไม่มีผลรบกวนการเจริญเติบโตของราก ค่าดัชนีการแบ่งเซล์ (mitotic index) และไม่มีผลชักนำให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซม (chromosome aberrations) อย่างไรก็ตามในการศึกษานี้ไม่พบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยต้นไม้หอมต่อเชื้อ Bacillus subtilis ATCC-11774, B. cereus ATCC-10876, Staphylococcus aureus ATCC-11632, Salmonella typhimurium ATCC-13311, Aspergillus fumigatus ATCC-204305, A. niger ATCC-16885, Saccharomyces cerevisiae ATCC-9763, Candida albicans ATCC-66027 และ Streptococcus mutans ATCC-25175 การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าน้ำมันหอมระเหยจากต้นไม้หอมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเบาหวาน ทำให้ผิวขาว ต้านการเกิดนิ่ว และต้านการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเป็นยาในอนาคต

Indust Crop Prod. 2023;197:116535.