การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและป้องกันข้อเข่าเสื่อมของกากหล่อฮังก๊วย (Siraitia grosvenorii) ที่เหลือจากการสารสกัดด้วย 70% เอทานอลจำนวน 2 ครั้ง (residual extract) การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์แมคโครฟาจ (RAW264.7) พบว่ากากหล่อฮังก๊วยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยยับยั้งการสร้าง nitric oxide ในเซลล์ที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย lipopolysaccharide (LPS) ได้ตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ กากหล่อฮังก๊วยลดจำนวนสารสื่อการอักเสบ ได้แก่ cyclooxygenase-2 (COX2), inducible NO synthase (iNOS), prostaglandin E2 (PGE2) และลดระดับไซโตไคน์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ interleukin-(IL)-1β, IL-6, tumour necrosis factor (TNF-α) รวมกับให้ผลยับยั้ง nuclear factor kappa B (NF-κB) และ mitogen-activated protein kinase (MAPK) pathway เป็นผลให้การอักเสบลดลง และการศึกษาฤทธิ์ป้องกันข้อเข่าเสื่อมในหนูแรท โดยป้อนกากหล่อฮังก๊วย ขนาด 150 และ 200 มก./กก. เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมบวกที่ได้รับยา JOINS ขนาด 20 มก./กก. โดยให้สาร วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน ก่อนการเหนี่ยวนำให้ข้อเข่าเสื่อมการฉีด monosodium iodoacetate และป้อนสารต่อเนื่องไปอีกเวลา 21 วัน ผลพบว่ากากหล่อฮังก๊วยช่วยเพิ่มการลงน้ำหนักฝ่าเท้าซึ่งแสดงให้เห็นถึงฤทธิ์บรรเทาอาการปวด ยับยั้งสารสื่อการอักเสบ ได้แก่ iNOS, COX-2, 5-lipooxygenase, PGE2, leukotriene B4 และลดการแสดงออกของไซโตไคน์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ได้แก่ IL-1β, IL-6, TNF-α และนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ป้องกันการสลายกระดูกอ่อน โดยลดการทำงานของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูกอ่อน ได้แก่ matrix metalloproteinases (MMP)-1, MMP-2, MMP-9, และ MMP-13 ร่วมกับการลดระดับ SOX9 และ extracellular matrix component (ACAN และ COL2A1) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิสมกระดูกอ่อนอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากากหล่อฮังก๊วยที่เหลือจากการสกัดมีศักยภาพในการต้านการอักเสบและป้องกันข้อเข่าเสื่อม
Nutrients 2023;15:1417.