องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ลดการอักเสบของเห็ดเยื่อไผ่

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัด 85% เอทานอลจากเห็ดเยื่อไผ่ (Dictyophora indusiata) พบว่าประกอบด้วยสารสำคัญ 18 ชนิด ได้แก่ indusiataines A-D (1-4), 5-(methoxymethyl)-1H-pyrrole-2-carbaldehyde (5), nicotinic acid (6), dibutyl phthalate (7), 5-hydroxymethyl-2-furancarbox-aldehyde (8), adenosine (9), oxindole (10), 3-oxo-4-benzyl-3,4-dihydro-1H-pyrrolo [2,1-c] oxazine -6-methylal (11), 2-methyl-3-pyridinol (12), linoleic acid (13), oleic acid (14), 1(10→6) abeo-ergosta-5,7,9,22-tetraen-11β-methoxy-3α-ol (15), citreoanthra-steroid (16), (17) และ 7-ketositosterol (18) จากนั้นนำสาร 1, 3, 4, 11, 15, 16 และ 17 มาศึกษาฤทธิ์ในการลดการอักเสบ โดยทดสอบในเซลล์ไมโครเกลียของหนู (mouse microglial cells) ชนิด BV-2 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยสารไลโปโพลีแซคคาไรด์ พบว่าสาร 17 มีฤทธิ์ลดการอักเสบได้ดีที่สุด โดยสามารถยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ และ interleukin-1β(IL-1β) (ค่า IC50 เท่ากับ 10.86 และ 23.9 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ) และลดการแสดงออกของเอนไซม์ induced nitric oxide synthase (iNOS) และ phosphorylated nuclear factor-kappa B inhibitor-α (p-IκB-α) ที่ความเข้มข้น 5 และ 20 ไมโคร โมลาร์ ตามลำดับ ขณะที่สาร 3 มีฤทธิ์แรงสุดในการยับยั้งการสร้าง tumor necrosis factor-α (TNF-α) (IC50 11.9 ไมโครโมลาร์) และสาร 16 มีฤทธิ์สูงสุดในการยับยั้งการสร้าง IL-6 (IC50 13.53 ไมโครโมลาร์)

Molecules. 2023,28,2760. doi: 10.3390/molecules28062760.