ฤทธิ์ต้านอาการภูมิแพ้หอบหืดจากสารสำคัญในงาขี้ม้อน

การทดสอบฤทธิ์ต้านอาการภูมิแพ้หอบหืดของสาร rosmarinic acid ซึ่งแยกได้จากงาขี้ม้อน (Perilla frutescens) โดยทำการทดสอบในหลอดทดลองกับ β2-adrenergic receptor (β2-AR) ด้วยเทคนิค scanning electron microscopy และ chromatographic analysis พบว่า สาร rosmarinic acid สามารถจับกับ β2-AR ได้ดี มีค่าคงที่การเข้าจับ (binding constant) เท่ากับ 2.95 × 104 M−1 การทดสอบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการภูมิแพ้หอบหืดด้วย ovalbumin และ aluminum hydroxide พบว่าสาร rosmarinic acid สามารถลดจำนวนเซลล์ปอดที่เกิดการอักเสบ, ลดการสร้าง Th2 cytokines (IL-4, IL-5, IL-13), และยับยั้งการหลั่ง IgE, OVA-specific IgE, eotaxin รวมทั้งยับยั้ง NF-κB signaling pathway ส่งผลให้ลดการเกิด inflammatory cell infiltration และเพิ่มการขับสารเมือก (mucus hypersecretion) นอกจากนี้ยังทำให้โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกของยีน AMCase, CCL11, CCR3, Ym2, และ E-selectin ในเซลล์ปอดมีระดับลดลงด้วย แสดงให้เห็นว่า สาร rosmarinic acid จากงาขี้ม้อนอาจมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการอักเสบในระบบทางเดินหายใจ และลดอาการของโรคภูมิแพ้หอบหืดได้

J Nat Prod. 2022;85:2656-66. doi: 10.1021/acs.jnatprod.2c00767.