การศึกษาแบบสุ่ม และปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย ในผู้ป่วยที่เป็นไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 46 คน ทั้งเพศชายและหญิง อายุเฉลี่ย 48.25 ± 6.7 ปี ในกลุ่มศึกษา และ 49.12 ± 6.6 ปี ในกลุ่มควบคุม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละเท่ากัน กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานจมูกข้าวสาลี 40 ก./วัน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ควบคุม ให้รับประทานเกล็ดขนมปัง ในขนาดที่เท่ากัน นาน 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่รับประทานจมูกข้าวสาลีระดับเอนไซม์ที่เกี่ยวกับตับ ได้แก่ alanine aminotransferase (ALT), gamma-glutamyl transferase (GGT), ระดับคอเลสเตอรอลรวม, ระดับไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด และไขมันในตับ มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่าระดับของ total antioxidant capacity เพิ่มขึ้น และระดับของ high-sensitivity C-reactive protein ลดลงในผู้ป่วยที่รับประทานจมูกข้าวสาลี จากการศึกษาสรุปได้ว่า การรับประทานจมูกข้าวสาลีมีผลลดลดระดับเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับตับ ระดับไขมันในกระแสเลือดและตับ ลดการอักเสบ และเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในผู้ป่วยที่เป็นไขมันพอกตับ
Phytother Res. 2022;36:4201-9.