การศึกษาทางคลินิกผลของการรับประทานน้ำคั้นบีทรูทต่อดัชนีชี้วัดการอักเสบและสภาวะเครียดออกซิเดชันในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 52 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับน้ำคั้นบีทรูท (Beta vulgaris var. esculenta; beetroot) เข้มข้น 12 มล. 2 ครั้ง/วัน และกลุ่มควบคุม ทำการทดสอบเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ทำการประเมินผลในช่วงเริ่มต้นและช่วงสัปดาห์ที่ 12 ด้วยการวัด malondialdehyde (MDA), high sensitive C-reactive protein (hs-CRP), interleukin-6 (IL-6), tumor necrosis factor-α (TNF-α) และ nuclear factor-кB (NF-кB) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำคั้นบีทรูทมีระดับ IL-6 (−0.1 vs. 0.83, P = 0.001), TNF-α (−1.28 vs. 5.51, P = 0.001) และ NF-кB (−0.03 vs. 0.36, P = 0.005) ลดลงหลังจากช่วงสัปดาห์ที่ 12 ของการทดสอบ ค่า MDA และ hs-CRP ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างกลุ่ม การเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำคั้นบีทรูทไม่มีผลเปลี่ยนแปลงดัชนีชี้วัดการอักเสบและสภาวะเครียดออกซิเดชัน ยกเว้น TNF-α (−1.28 ± 2.31, P = 0.026) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเริ่มต้นการทดสอบ แต่ในกลุ่มควบคุม IL-6, TNF-α และ NF-кB เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงสัปดาห์ที่ 12 เปรียบเทียบกับช่วงเริ่มต้นการทดสอบ (19.5%, P = 0.001; 120%, P = 0.001; และ 69%, P = 0.021, ตามลำดับ) จากผลการทดสอบครั้งนี้สรุปได้ว่าการรับประทานบีทรูทมีผลช่วยลดดัชนีชี้วัดการอักเสบบางชนิด ได้แก่ IL-6, TNF-α และ NF-кB ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

J Food Sci. 2022;87(12):5430-41. doi: 10.1111/1750-3841.16365.