การศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครเพศหญิงจำนวน 26 คน อายุระหว่าง 20 - 59 ปี มีค่า BMI > 25 กก./ม.2 แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับน้ำมันคริลล์ (krill oil) ซึ่งเป็นน้ำมันที่ได้จากเคย (Euphausia superba; Antarctic krill) ขนาด 3 ก./วัน และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ซักประวัติการบริโภคอาหารในรอบ 24 ชั่วโมงทำการวัดสัดส่วนร่างกาย (น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย เส้นรอบวงของเอวและความหนาของไขมันบริเวณหน้าท้อง) และทำการวัดแรงบีบมือ เมื่อสิ้นสุดการทดสอบพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสัดส่วนของร่างกายและค่าแรงบีบมือ พบความแตกต่างของปริมาณคาร์โบไฮเดรต ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน และกรดไขมัน ลดลงในกลุ่มยาหลอก และเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้รับน้ำมันคริลล์ จากผลการทดสอบครั้งนี้สรุปได้ว่าน้ำมันคริลล์ไม่มีผลลดเส้นรอบวงของเอวและความหนาของไขมันบริเวณหน้าท้อง ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในระยะยาวและในจำนวนประชากรขนาดใหญ่ขึ้นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ของน้ำมันคริลล์ในผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน
Int J Environ Res Public Health. 2022;19(20):13574. doi: 10.3390/ijerph192013574.