การศึกษาทางคลินิกผลของการใช้น้ำมันคริลล์ (krill oil) ต่อการทำงานและขนาดของกล้ามเนื้อลายในผู้สูงอายุ

การศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครทั้งเพศหญิงและชายจำนวน 102 คน อายุมากกว่า 65 ปี มีค่า BMI <35 กก./ม.2แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับน้ำมันคริลล์ (krill oil) ซึ่งเป็นน้ำมันที่ได้จากเคย (Euphausia superba; Antarctic krill) ขนาด 4 ก./วัน และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก เป็นระยะเวลา 6 เดือน ประเมินผลการทดสอบในช่วงเริ่มต้น ช่วง 3 สัปดาห์ และ 6 เดือนของการทดสอบประเมินผลการศึกษาหลักด้วยการวัดการเหยียดเข่าด้วยแรงสูงสุด และประเมินผลการศึกษารองด้วยการวัดแรงบีบมือ ความหนาของกล้ามเนื้อต้นขาการประเมินความสามารถทางกายในผู้สูงอายุด้วยแบบประเมิน(short performance physical battery test)ไขมันของร่างกาย มวลกล้ามเนื้อระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ฮอร์โมนอินซูลิน ค่าโปรตีน C-Reactiveการประเมินเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและเส้นประสาท(neuromuscular) (M-Wave, RMS และ voluntary activation)และค่าerythrocyte fatty acid ผลการทดสอบพบว่าในเดือนที่ 6 กลุ่มที่ได้รับน้ำมันคริลล์มีค่าการเหยียดเข่าด้วยแรงสูงสุด แรงบีบมือ และความหนาของกล้ามเนื้อต้นขาเพิ่มขึ้น มีผลต่อการรักษา 9.3%, 10.9% และ3.5% ตามลำดับ ในกลุ่มที่ได้รับน้ำมันคริลล์มีค่า erythrocyte fatty acidprofileเพิ่มขึ้นได้แก่EPA, DHA และดัชนี omega-3 มีค่า214%,36% และ61%ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก การประเมินเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและเส้นประสาทพบM-Wave เพิ่มขึ้นมีค่า 17% แต่ไม่มีผลต่อค่าRMS ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานในการวัดการทำงานของกล้ามเนื้อ รวมทั้งค่า voluntary activation และผลการศึกษารองอื่น ๆรวมทั้งผลจากการประเมินด้วยแบบประเมินและผลต่อคุณภาพชีวิต

ClinNutr. 2022;41(6):1228-35. doi: 10.1016/j.clnu.2022.04.007.