ฤทธิ์รักษาแผลเบาหวานและแผลกดทับของหญ้าเอ็นยืด

การศึกษาแบบเปิดในผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า (diabetic foot ulcer)ความรุนแรงระดับ 1-2 ตามเกณฑ์ของ Wagner classification systemและผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ (pressure ulcer) ความรุนแรงระดับ 2-3 ตามเกณฑ์ของ The International Journal of Lower Extremity WoundsPressure Injury Advisory Panel staging systemจำนวน 94 ราย สุ่มแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มทดสอบได้รับการรักษาด้วยเจลหญ้าเอ็นยืด (Plantago major L.) ความเข้มข้น 10% (ในตำรับประกอบสารสกัด 70% เอทานอลจากหญ้าเอ็นยืด,hydroxypropyl methylcellulose, methyl parabenและ propyl paraben) กำหนดให้ผู้ป่วยทาเจลที่แผลวันละ 1 ครั้ง หลังการทำความสะอาดแผลตามมาตรฐานด้วยน้ำเกลือ และปิดบาดแผลด้วยก๊อซ กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาแผลตามมาตรฐาน และปิดแผลด้วยแอลจิเนต แผ่นโฟม น้ำผึ้ง แผ่นไฮโดรคอลลอยด์ และไฮโดรเจล โดยขึ้นกับลักษณะของบาดแผล ทำการทดสอบเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ผลพบว่าเจลหญ้าเอ็นยืดสามารถลดอาการผื่นแดงของบาดแผล และลดขนาดบาดแผลมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตั้งแต่สัปดาห์แรกของการทดสอบ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่ได้รับเจลหญ้าเอ็นยืดจำนวนผู้ป่วยบาดแผลหายสนิทมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบผู้ป่วยบาดแผลหายสนิท เท่ากับ 32 และ 9 คน ตามลำดับ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเจลสารสกัด 70% เอทานอลจากหญ้าเอ็นยืดมีฤทธิ์รักษาแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานและรักษาแผลกดทับได้

Int JLow Extrem Wounds. 2022:15347346211070723.