การศึกษาในหนูแรทเพศผู้ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม vehicle ซึ่งได้รับน้ำเกลือ 0.9% และน้ำกลั่น, กลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะความชราด้วยการฉีด D-galactoseขนาด 50 มก./กก.เข้าทางช่องท้อง, กลุ่มที่ได้รับสารสกัด 95% เอทานอลจากลูกไหน (Prunus domestica L.)ขนาด 75, 100 และ 150 มก./กก. ตามลำดับ, กลุ่มที่ได้รับ D-galactose ร่วมกับสารสกัด 95% เอทานอลจากลูกไหนขนาด 75, 100 และ 150 มก./กก. ตามลำดับเป็นเวลา 8 สัปดาห์ หลังจากนั้น 3 วัน ทำการทดสอบความจำของหนูด้วยการทดสอบ novel object location (NOL) และ novel object recognition (NOR) พบว่าน้ำหนักตัวและการเคลื่อนไหวของหนูทุกกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการทดสอบความจำ หนูทุกกลุ่มสามารถแยกความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างวัตถุวางในตำแหน่งเก่าและใหม่หรือวัตถุเก่าและวัตถุใหม่ ยกเว้นกลุ่มที่ได้รับ D-galactose ซึ่งไม่สามารถแยกได้ในการทดสอบทั้ง 2 วิธี แสดงว่าสารสกัดจากลูกไหนมีผลลดภาวะความจำบกพร่องในหนูแรทที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วย D-galactose ได้
Srinagarind Med J. 2022;37(5):539-45.