ฤทธิ์ลดเลือนริ้วรอยของน้ำมันหอมระเหยจากใบส่องฟ้า

น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากใบส่องฟ้า (Clausena harmandiana (Pierre) Guillaumin) ด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ (hydro-distillation) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดริ้วรอยของผิว ได้แก่ hyaluronidase, collagenase และ elastase ได้ โดยมีฤทธิ์ดีในการยับยั้งเอนไซม์ hyaluronidase และ collagenase (ค่า IC50 เท่ากับ 10.94±1.06 และ 19.06±0.06 มคก./มล. ตามลำดับ) ซึ่งใกล้เคียงกับสาร oleanolic acid ซึ่งเป็นตัวควบคุมบวก (IC50 เท่ากับ 7.43±0.58 และ 16.75±0.14 มคก./มล. ตามลำดับ) แต่ฤทธิ์ในยับยั้งเอนไซม์ elastase ของน้ำมันหอมระเหยจากใบส่องฟ้าจะน้อยกว่าเมี่อเทียบกับ oleanolic acid (IC50 121.47±2.80 และ 3.24±0.08 มคก./มล. ตามลำดับ) ในการทดสอบฤทธิ์ของตำรับไมโครอิมัลชันที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบส่องฟ้า 1% และ 5% (w/w) พบว่าไมโครอิมัลชันที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบส่องฟ้า 5% มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ collagenase และ elastase (99.35±4.34% และ 35.78±0.56% ตามลำดับ) ได้ดีกว่าไมโครอิมัลชันที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบส่องฟ้า 1% (93.67 ±2.87% และ 34.22±0.63% % ตามลำดับ) และไมโครอิมัลชันที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบส่องฟ้า 5% สามารถยับยั้งเอนไซม์ hyaluronidase ได้ 92.1±0.6% ขณะที่อีกตำรับไม่มีผล สรุปว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบส่องฟ้ามีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเป็นสารลดเลือนริ้วรอยในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผิวได้

Pharmacogn J. 2022;14(4):416-22.