การทดสอบผลของสารโพลีแซคคาไรด์ (ประกอบด้วย mannan 9.43%, ribose 0.43%, glucose 78.32%, galactose 8.47%, arabinose 3.05% และ fucose 0.30%) ซึ่งแยกได้จากเห็ดออรินจิ (Pleurotus eryngii polysaccharide; PEP) ต่อระบบทางเดินอาหารในหลอดทดลองพบว่า โครงสร้างของ PEP ไม่สามารถถูกทำลายด้วยเอนไซม์ในทางเดินอาหาร แต่สามารถถูกเปลี่ยนสภาพได้ด้วยแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้ (intestinal flora) เมื่อผ่านกระบวนการหมัก (fermentation) ซึ่งสารโพลีแซคคาไรด์จะถูกเปลี่ยนให้เป็นกรดไขมันสายสั้น (short-chain fatty acids; SCFAs) และทำให้ค่า pH ของอุจจาระลดลง นอกจากนี้ยังทำให้แบคทีเรียชนิด Firmicutes ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีจำนวนเพิ่มขึ้น จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สารโพลีแซคคาไรด์จากเห็ดออรินจิอาจช่วยปรับสมดุลและช่วยกระตุ้นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ได้
Food Chem. 2022;370:131303.