การสกัดแยกสารสำคัญในใบสักที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง 5α-reductase พบว่าประกอบด้วยสารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ ได้แก่ (+)-eperua-8,13-dien-15-oic acid (1), (+)-eperua-7,13-dien-15-oic acid (2) และ lupeol (3) โดยสาร 1 และ 2 มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase ได้ดี ขณะที่สาร 3 มีฤทธิ์อ่อน แต่ฤทธิ์จะน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสาร finasteride ซึ่งเป็นตัวควบคุมบวก โดยค่า IC50 ของสาร 1, 2, 3 และ finasteride มีค่าเท่ากับ 4.31±0.87, 4.45±0.10, >170 และ 0.28±0.01 มคก./มล. ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบวิธีการสกัดใบสักด้วยตัวทำละลายเฮกเซน และ 95% เอทานอล พบว่าสารสกัด 95% เอทานอล มีปริมาณของสาร 1 และ 2 มากกว่าสารสกัดเฮกเซน และมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ได้ดีกว่า (IC50 เท่ากับ 23.91±0.17 และ 26.45±0.69 มคก./มล. ตามลำดับ) จะเห็นว่าสาร 1 และ 2 จากใบสัก มีฤทธิ์ยับยั้ง 5α-reductase ซึ่งสามารถใช้เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive markers) ในการพัฒนาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เวช-สำอางสำหรับการรักษาผมร่วงต่อไปได้ และใช้เอทานอล 95% เป็นตัวทำละลายในการสกัด เนื่องจากมีความปลอดภัยกว่าเฮกเซน และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในการใช้เป็นตัวทำละลายในการสกัดและส่วนผสมในอาหาร ยา และเครื่องสำอาง
Molecules. 2022;27,2893. doi:10.3390/molecules27092893.