สารโพลีฟีนอลที่แยกได้จากเปลือกมังคุด ความเข้มข้น 0.05-5 มก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-amylase ได้ เมื่อทดสอบในหลอดทดลอง โดยมีค่าความเข้มข้นของสารที่ยับยั้งเอนไซม์ได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 0.28 มก./มล. แต่ฤทธิ์น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสาร acarbose ซึ่งเป็นตัวควบคุมบวกที่มีค่า IC50 0.05 มก./มล. การศึกษาในหนูแรทซึ่งให้กินแป้งข้าวโพด ขนาด 0.8 ก./กก. พบว่าสารโพลีฟีนอลจากเปลือกมังคุด ขนาด 20 และ 40 มก./กก. มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูได้ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจาก นี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี hydroxyl radical scavenging, superoxide radical scavenging และ 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl radical scavenging (DPPH) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 2.24±0.10, 1.47±0.11 และ 0.15±0.004 มก./มล. ตามลำดับ จากผลการศึกษาจะเห็นว่าสารโพลีฟีนอลจากเปลือกมังคุดอาจมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคเบาหวานได้
Foods. 2022;11,1001. doi:10.3390/foods11071001.