ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างสารประกอบฟีนอลิกและสารโพลีแซคคาไรด์ในรากบัว

การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากการจับกันของสารประกอบฟีนอลิก ได้แก่ catechin (CA), gallic acid (GA), ferulic acid (FA), chlorogenic acid (CHA), และ caffeic acid (CAA) กับสารโพลีแซคคาไรด์ที่แยกได้จากรากของบัวหลวง (Nelumbo nucifera Gaertn.) หรือ lotus root polysaccharides (LRPs) ที่มีอัตราส่วนของน้ำตาลโมเลกุลเดียว* Man : GlcA : Rha : GalA : Glc : Gal : Ara เท่ากับ 0.07 : 0.08 : 0.26 : 0.05 : 3.53 : 1.00 : 0.32 ซึ่งจะได้เป็นสารประกอบเชิงซ้อน LRP-CA, LRP-GA, LRP-FA, LRP-CHA, และ LRP-CAA โดยมีอัตราส่วนการจับของสารประกอบฟีนอลิกและ LRP เท่ากับ 61.22, 9.37, 29.28, 83.80 และ 14.80 มก./ก. เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) assay พบว่า LRP, LRP-CA, LRP-GA, LRP-FA, LRP-CHA, และ LRP-CAA มีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 0.68, 0.36, 0.52, 0.49, 0.35, และ 0.51 มก./มล. ตามลำดับ และการทดสอบด้วยวิธี ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay พบว่ามีค่า FRAP capacity เท่ากับ 0.55, 0.83, 0.71, 0.71, 0.82, และ 0.78 มิลลิโมลาร์/ก. ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่า สารประกอบเชิงซ้อนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีว่าสาร LRP เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารประกอบเชิงซ้อนส่วนใหญ่ยังน้อยกว่าการผสมสารแบบกายภาพ (physical mixtures) การทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการสร้าง nitric oxide (NO) ในเซลล์แมคโครฟาจชนิด RAW264.7 พบว่า LRP, LRP-CA, LRP-GA, LRP-FA, LRP-CHA, และ LRP-CAA ขนาด 200 มคก./มล. สามารถเพิ่มการสร้าง NO ได้ โดยสารประกอบเชิงซ้อนทุกชนิด ยกเว้น LRP-GA สามารถกระตุ้นการสร้าง NO ในเซลล์แมคโครฟาจได้ดีกว่า LRP เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การออกฤทธิ์กระตุ้นการสร้าง NO ของสารประกอบเชิงซ้อนทุกชนิด ยังน้อยกว่าการผสมสารแบบกายภาพ และการทดสอบเพิ่มเติมในเซลล์แมคโครฟาจที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้าง NO เพิ่มขึ้น (NO overproduction) ด้วย lipopolysaccharide พบว่า สารประกอบเชิงซ้อน LRP-CA และ LRP-CHA สามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของ NO ได้ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สารประกอบเชิงซ้อนระหว่างสารประกอบฟีนอลิกและสารโพลีแซคคาไรด์ในรากบัวสามารถเพิ่มฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของสารโพลีแซคคาไรด์ในรากบัวได้

Food Chem. 2022;366:130693. doi: 10.1016/j.foodchem.2021.130693.