ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของเซลล์ระบบประสาทของลูกผักชี

การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของเซลล์ระบบประสาทของสารสกัดลูกผักชี โดยทำการทดสอบในเซลล์ BV-2 microglia ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย lipopolysaccharide (LPS) ในหลอดทดลอง และในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ Parkinson ด้วยการฉีด 1-methyl-4 phenyl-1, 2, 3, 6-tetrahydropyridine (MPTP) 25 มก./กก. เข้าช่องท้อง พบว่าสารสกัดลูกผักชี 25, 50 และ 100 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้ง nitric oxide (NO), inducible NO synthase, cyclooxygenase-2, interleukin-6 และ tumor necrosis factor alpha ที่เพิ่มขึ้นจากการเหนี่ยวนำด้วย LPS ในหลอดทดลอง และยังมีผลในการยับยั้ง nuclear factor of kappa-beta activation และ IκB-α phosphorylation สารสกัดลูกผักชี ขนาด 100, 200 และ 300 มก./กก. มีผลยับยั้ง MPTP ในการเหนี่ยวนำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ การเรียนรู้ และพฤติกรรมของหนูเม้าส์ เมื่อวัดการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ (rota rod test) วัดปฏิกิริยาทดสอบการหลีกหนีของสัตว์ทดลอง (passive avoidance) และการทดสอบกิจกรรมการเคลื่อนไหว (open field) ตามลำดับ และสารสกัดลูกผักชี 200 และ 300 มก./กก. มีฤทธิ์ปรับปรุงระดับค่าเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ superoxide dismutase, catalase และ lipid peroxidation อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01 และ p <0.001 ตามลำดับ) จากการวิเคราะห์สารสกัดลูกผักชีด้วย High-performance thin-layer chromatography พบสาร quercetin และ kaempferol-3O-glucoside จากผลการทดสอบสรุปได้ว่าสารสกัดลูกผักชีมีฤทธิ์ในการยับยั้งการอักเสบของเซลล์ระบบประสาทในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง อาจมีผลในการยับยั้งการอักเสบของเซลล์ระบบประสาทและภาวะเครียดออกซิเดชันในโรค Parkinson อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

EXCLI J. 2021;20:835-850. doi: 10.17179/excli2021-3668.